Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60559
Title: เปรียบเทียบการขจัดสารไซโตคายน์ระหว่างวิธีการฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นและวิธีการฟอกเลือดแบบประสิทธภาพสูง ในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะไตวายฉับพลัน
Other Titles: Comparison of cytokine clearance between on-line hemodiafiltration and high-fluk hemodialysis in sepsis-related acute kidney injury patients
Authors: วิวิฒน์ จันเจริญฐานะ
Advisors: ขจร ตีรณธนากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ไซโตไคน์
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
เลือด -- การกรอง
เลือดติดเชื้อ
ไตวายเฉียบพลัน
ไต -- โรค -- การรักษา
Cytokines
Hemodialysis
Blood -- Filtration
Septicemia
Acute renal failure
Kidneys -- Diseases -- Treatment
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: การขจัดสารไซโตคายน์ที่มีประสิทธิภาพสามารถลดอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะไตวายฉับพลัน ซึ่งตามทฤษฎีแล้วการฟอกเลือดด้วยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น ที่อาศัยกระบวนการพาร่วมกับการแพร่น่าจะมีบทบาทในการขจัดสารไซโตคายน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีการฟอกเลือดแบบประสิทธิภาพสูง การวิจัยเชิงทดลองนี้ศึกษาเพื่อหาค่าร้อยละของการลดลงของสาร interleukin (IL)-18 และ vascular endothelial growth factor (VEGF) ก่อนและหลังฟอกเลือด และอัตราการขจัดของสารในเลือดระหว่างการฟอกเลือดทั้งสองวิธี วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะไตวายฉับพลัน และจำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือดจำนวน 28 ราย ได้รับการสุ่มคัดเลือกเข้ารับการฟอกเลือดด้วยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น และวิธีการฟอกเลือดแบบประสิทธิภาพสูงจำนวน 14 รายเท่ากัน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลระหว่างการฟอกเลือดเพื่อหาค่าร้อยละของการลดลงของสาร IL-18 และ VEGFก่อนและหลังฟอกเลือด อัตราการขจัดของสารในเลือด และค่าการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตของทั้งสองกลุ่ม ผลการศึกษา: การฟอกเลือดด้วยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากวิธีการฟอกเลือดแบบประสิทธิภาพสูงในการขจัดสาร IL-18 ทั้งค่าร้อยละของการลดลงของสาร (-8.1±0.5 เทียบกับ 1.9±0.5 ตามลำดับ, p=0.348) อัตราการขจัดของสารในเลือด (20.2±0.5 เทียบกับ 23.8±8.61 ตามลำดับ, p=0.348) และอัตราการขจัดของสารในน้ำที่ได้จากการฟอกเลือด (1.4±0.5 เทียบกับ1.6±0.5, ตามลำดับ, p=0.812) อย่างไรก็ตาม พบว่าการฟอกเลือดด้วยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นมีการขจัดสาร VEGF ได้มากกว่าวิธีการฟอกเลือดแบบประสิทธิภาพสูง ทั้งค่าร้อยละของการลดลงของสาร (52.6±47.6 เทียบกับ11.7±0.1, p=0.000) และอัตราการขจัดของสารในเลือด (138.3±118.2 เทียบกับ 80.4±57.1, p=0.022) เมื่อเปรียบเทียบค่าการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตระหว่างการฟอกเลือด พบว่าการฟอกเลือดด้วยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นไม่แตกต่างจากวิธีการฟอกเลือดแบบประสิทธิภาพสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าความดันโลหิตซิสโตลิค 90.4±14.1 และ 74.9±20.8 มม.ปรอท ตามลำดับ (p=0.095) และค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค 54.0±14.6 และ 43.0±11.9 มม.ปรอท ตามลำดับ (p=0.101) ทั้งนี้ พบว่าการฟอกเลือดด้วยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นมีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 35.7 ในขณะที่วิธีการฟอกเลือดแบบประสิทธิภาพสูงมีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 21.4 สรุปผลการศึกษา: การฟอกเลือดแบบออนไลน์ ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น ในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะไตวายฉับพลัน มีการขจัดสาร VEGF ได้มากกว่าการฟอกเลือดแบบประสิทธิภาพสูง ในขณะที่การขจัดสาร IL-18 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการฟอกเลือดทั้งสองวิธี
Other Abstract: Background: Effective removal of pro-inflammatory cytokines has been reported to improve overall mortality rate in sepsis-related acute kidney injury (AKI) patients. Theoretically, on-line hemodiafiltration (ol-HDF) which combines convective and diffusive solute removal in a single therapy seems to provide superior cytokine clearance over high-flux hemodialysis (HD). This prospective clinical trial was conducted to determine the percentage reduction and cytokine clearance of plasma interleukin (IL)-18 and vascular endothelial growth factor (VEGF) between ol-HDF and high-flux HD in critically ill sepsis-related AKI patients. Methods: Twenty eight sepsis-related AKI patients were included and randomized into each modality, ol-HDF (n=14) and high-flux HD (n=14). The percentage reduction and clearance of plasma IL-18 and VEGF as well as intradialytic blood pressure were determined during the first 4-hour dialysis session. Results: There were no differences between ol-HDF and high-flux HD in percentage reduction (-8.1±0.5 vs. 1.9±0.5, respectively, p=0.348), blood clearance (20.2±0.5 vs. 23.8±8.61, respectively, p=0.348) and dialysate clearance (1.4±0.5 vs. 1.6±0.5, respectively, p=0.812) of IL-18. However, both therapies could reduce VEGF levels when compared with baseline. This study was revealed that ol-HDF not only provided significantly percentage reduction of VEGF than high-flux HD (52.6±47.6 vs.11.7±0.1, p=0.000) but also provided greater plasma clearance of VEGF than high-flux HD (138.3±118.2 vs. 80.4±57.1, p=0.022). There were no significant differences in intradialytic systolic blood pressure (90.4±14.1 vs. 74.9±20.8 mmHg in ol-HDF and high-flux HD, respectively, p=0.095), diastolic blood pressure (54.0±14.6 vs. 43.0±11.9 mmHg in ol-HDF and high-flux HD, respectively, p=0.101) and mortality rate between the two treatments (35.7% in ol-HDF and 21.4% in high-flux HD). Conclusion: On-line hemodiafiltration in sepsis-related AKI could provide better removal of VEGF with comparable IL-18 cytokine clearance when compared with high-flux HD.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60559
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1610
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1610
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiwat Chancharoenthana.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.