Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60629
Title: | ปัญหาและแนวทางแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีในประเทศไทย |
Authors: | ณัฐฐา สุภกิจพาณิชกุล |
Advisors: | ทัชชมัย ทองอุไร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ สินค้าฟุ่มเฟือย |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | รัฐบาลได้ออกมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีในประเทศไทยโดยออกร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ ...(พ.ศ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร หรือที่เรียกว่า มาตรการช็อปช่วยชาติซึ่งเริ่มครั้งแรกในปี 2558 ในช่วงวันที่ 25 ธันวาคมถึง 31 ธันวาคม และมีอย่างต่อเนื่องในปี 2559 ในช่วงวันที่ 14 ถึง 31 ธันวาคม 2559 และปี 2560 ในช่วงวันที่ 11 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม โดยการให้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามหลักเกณฑ์ที่มาตรการกำหนด ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้ยังมีปัญหาถึงความไม่เหมาะสมบางประการ เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาของมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีในประเทศไทย ตลอดจนศึกษามาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซียและประเทศกรีซเพื่อนำแนวทางมาปรับใช้ในบางประเด็น จากการศึกษาพบว่า มาตรการช็อปช่วยชาติมีปัญหาบางประการ กล่าวคือ มาตรการดังกล่าวอาจส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวแบบกระจุกตัวกับธุรกิจขนาดใหญ่ รวมถึงก่อให้เกิดการชะลอการใช้จ่ายและเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น จากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น มาตรการช็อปช่วยชาติควรขยายฐานผู้ขายรวมถึงการช็อปปิ้งในแหล่งท่องเที่ยวต่างจังหวัดหรือ SMEs รวมถึงกลุ่มเกษตรกรที่ทางการรับรองและผู้ขายสินค้าโอทอปเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวแบบกระจายตัวมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ควรลดหย่อนภาษีการท่องเที่ยวโดยกระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองรองในประเทศไทยเพิ่มเติมเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตแบบกระจายไปสู่ชุมชนท้องถิ่นและสู่เศรษฐกิจฐานราก ในเรื่องระยะเวลาของมาตการนั้น มาตรการช็อปช่วยชาติควรนำแนวทางของประเทศมาเลเซียและกรีซมาปรับใช้โดยให้สิทธิลดหย่อนภาษีทั้งปีโดยอาจเริ่มจากการพิจารณาให้สิทธิลดหย่อนภาษีเป็นเวลา 3 หรือ 5 ปีก่อนเพื่อพิจารณาถึงผลลัพธ์ของมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจว่าบรรลุวัตถุประสงค์ได้จริงหรือไม่ สำหรับประเด็นเรื่องประเภทของสินค้าและบริการที่เข้าเงื่อนไขนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ มาตรการนี้ควรขยายประเภทของสินค้าได้มากขึ้น สินค้าและบริการที่เข้าเงื่อนไขได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีควรเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและไม่สมควรให้อาบอบนวดและสินค้าฟุ่มเฟือยนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ภาครัฐควรมีการเก็บข้อมูลศึกษาถึงต้นทุนของมาตรการรวมถึงการเติบโตของเศรษฐกิจจากมาตรการนี้เพื่อประเมินความคุ้มค่าของมาตรการ เพื่อที่ภาครัฐจะได้นำมาพิจารณาปรับปรุงมาตรการให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
Description: | เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60629 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.47 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2017.47 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
598 61740 34.pdf | 9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.