Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60755
Title: | ภาวะแทรกซ้อนของเครื่องพยุงหัวใจและระบบไหลเวียนด้วยบอลลูนในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียกในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | Complication related intra-aortic balloon pump counterpulsation in ST-elevation myocardial infarction in King Chulalongkorn Memorial Hospital |
Authors: | ฐิติมา หลิมเจริญ |
Advisors: | เอกราช อริยะชัยพาณิชย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Subjects: | หัวใจ -- ความผิดปกติ -- ภาวะแทรกซ้อน เครื่องช่วยการบีบตัวของหัวใจ Heart -- Abnormalities -- Complications Blood -- Circulation, Artificial |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มาของงานวิจัย: เครื่องพยุงหัวใจและระบบไหลเวียนด้วยบอลลูน (IABP) แนะนำให้ใช้ในผู้ที่มีภาวะช็อกจากหัวใจในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียก (STEMI) แม้ว่าการศึกษาที่ผ่านประโยชน์ที่ได้รับนั้นไม่ชัดเจนและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญประกอบด้วยภาวะเลือดออกรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องพยุงหัวใจและระบบไหลเวียนด้วยบอลลูนในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบการย้อนหลังในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจ (primary PCI) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 ถึง พ.ศ.2558 ผลการศึกษา:ผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น 650 ราย อายุเฉลี่ย 60.19 ±13.8 ปี เพศชายร้อยละ 73.2 โดยกลุ่มที่ใช้เครื่องพยุงหัวใจและระบบไหลเวียนด้วยบอลลูนทั้งหมด 138 ราย ร้อยละ 21.2 และกลุ่มที่ไม่ใช้เครื่องพยุงหัวใจและระบบไหลเวียนด้วยบอลลูน 512 ราย ร้อยละ 78.8 ภาวะเลือดออกรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียกพบ 86 ราย ร้อยละ 13.2 โดยในกลุ่มที่ใช้เครื่องพยุงหัวใจและระบบไหลเวียนด้วยบอลลูน 47 ราย ร้อยละ 34.1 ส่วนกลุ่มที่ไม่ใช้เครื่องพยุงหัวใจและระบบไหลเวียนด้วยบอลลูน 39 ราย ร้อยละ7.6% (OR 6.26; 95% confidence interval [CI] 3.76-10.24; p<0.001) สถิติวิเคราะห์พหุตัวแปรพบว่าเพศหญิง ประวัติโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะช็อก และค่าครีเอตินินที่สูงเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน (p < 0.05) ในขณะที่การใช้เครื่องพยุงหัวใจและระบบไหลเวียนด้วยบอลลูน ไม่สัมพัน์กับการเกิดภาวะเลือดออกรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือด (OR 1.76; 95% confidence interval [CI] 0.83-3.74; p = 0.14) สรุปผลการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้พบว่าอัตราการเกิดภาวะเลือดออกรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดพบสูงในกลุ่มที่ใช้เครื่องพยุงหัวใจและระบบไหลเวียนด้วยบอลลูน แต่พบว่าการใช้เครื่องพยุงหัวใจและระบบไหลเวียนด้วยบอลลูนเองไม่สัมพัน์กับการเกิดภาวะเลือดออกรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดโดยตรง |
Other Abstract: | Background: Intra-aortic balloon pump counterpulsation (IABP) is recommended for the treatment of hemodynamic instability complicating ST-elevation myocardial infarction (STEMI) despite its uncertain benefits and potential device-related risks. The aim of this study was to determine the effect of IABP on bleeding and vascular complications in patients with STEMI. Methods: We retrospectively reviewed consecutive patients with the diagnosis of STEMI who underwent primary percutaneous coronary intervention (PCI) in King Chulalongkorn Memorial Hospital in Thailand from January 2010 to December 2015. Patient characteristics, treatments, IABP use, major bleeding and vascular complications were obtained. T-test, Chi-square and multivariate analysis were used to analyze the results. Result: A total of 650 patients (mean age of 60.2 ± 13.8 years and 73.2% male) was included; 138 (21.2%) patients were classified in the IABP group and 512 (78.8%) patients in the non-IABP group. The major bleeding and vascular complications occurred in 86 patients (13.2%) in STEMI, 47 patients in the IABP group (34.1%) and 39 patients in the non-IABP group (7.6%) (OR 6.26; 95% confidence interval [CI] 3.76-10.24; p<0.001). Multivariate analysis demonstrated that only female gender, history of stroke, cardiogenic shock and serum creatinine were independent predictors of major bleeding and vascular complications, (p < 0.05 for all). Nevertheless, the use of an IABP was not associated with major bleeding and vascular complications. (OR 1.76; 95% confidence interval [CI] 0.83-3.74; p = 0.14) Conclusion: In this single-center experience, IABP is still commonly used in patients with STEMI. The bleeding and vascular complications can be commonly found in patients with IABP but it is not an independent factor of complications. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60755 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1276 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1276 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5874023830.pdf | 2.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.