Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60786
Title: กระบวนการสร้างนวัตกรรมเชิงความหมายของแบรนด์ผลิตภัณฑ์
Other Titles: Meaning innovation process for product brand
Authors: วรรณยศ บุญเพิ่ม
Advisors: พงศ์พันธ์ อนันต์วรณิชย์
ธาตรี ใต้ฟ้าพูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: นวัตกรรมทางธุรกิจ
การออกแบบผลิตภัณฑ์
Product design
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลได้ระบุว่า นวัตกรรม เป็นเครื่องมือสำคัญที่ผู้ประกอบการธุรกิจควรนำมาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพื่อการพัฒนาผลิตสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ ที่ตรงความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การวิจัยชิ้นนี้เป็นการผสมผสานระหว่างระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยเลือกอุตสาหกรรมเครื่องเรือนในเขตกรุงเทพมหานครเป็นกรณีศึกษา การสร้างกระบวนการสร้างนวัตกรรมเชิงความหมายในการวิจัยนี้ได้มุ่งประเด็นไปที่การนำเสนอการแก้ปัญหาดังกล่าวใน 2 ส่วน ได้แก่ 1.การลดความเสี่ยงในการนำเสนอความหมายใหม่แก่ผู้บริโภค และ 2.การสร้างแนวทางประกอบการตัดสินใจนำกลยุทธ์ด้านการออกแบบความหมาย ไปใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างเหมาะสม กระบวนการสร้างนวัตกรรมเชิงความหมายชื่อ ADD Model ได้ถูกนำเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา โดยกระบวนการ ADD Model นั้นประกอบไปด้วยสามขั้นตอนได้แก่ 1. ขั้นตรวจสอบ (Audit Stage) เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบถึงความพร้อมของบริษัทก่อนตัดสินใจดำเนินกระบวนการออกแบบความหมาย 2.ขั้นตอนการสร้างสมดุลของความหมาย (Design Meaning Equilibrium) เน้นความสำคัญไปที่การหาความสมดุลระหว่างความหมายดั้งเดิมของบริษัทกับความหมายใหม่ที่สร้างขึ้น 3. ขั้นตอนการนำส่งความหมาย (Delivery Stage) เป็นการนำส่งความหมายใหม่สู่ผู้บริโภคที่เหมาะสมกับระดับของนวัตกรรมที่สร้างขึ้น  ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ประกอบการด้านธุรกิจเครื่องเรือนสำหรับการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน และนอกจากนั้นงานวิจัยชิ้นนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อภาคการศึกษาเกี่ยวกับกลยุทธ์ด้านการออกแบบเพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจ ในการส่งมอบกระบวนการสร้างนวัตกรรมเชิงความหมาย ADD Model นั้น Responsive Website ถูกเลือกขึ้นมาเป็นเครื่องมือในการส่งมอบ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงได้อย่างง่าย
Other Abstract: Thailand 4.0 Policy stage that "Innovation" is one of the most important tools by which entrepreneurs shall adopt into the process of seeking new strategic management of their business. This aims for providing new products with new meanings to serve new requirements of customers.The research began with widely review related researches and studies in order to draw a theoretical framework. Furniture Industry in Bangkok was chosen as the case study.The collection of data was done from both consumers and producers of this industry. The methodology used were a survey to collect data by questionnaire the customers by field enumerators and in-depth interview the producers. The result of the processing data from the field was analyzed against the findings obtained from the literature review. The researcher had presented a Meaning innovation process call ADD Model. This model comprised 3 stages: first was an "Audit Stage" which meant for investigating the appropriateness for the adoption of new meaning innovation process. The second stage was "Design Meaning Equilibrium" in which an equilibrium between the levels of meaning innovation and business characteristics. The last stage was "Delivery Stage" which dealt with the process to delivered new meaning to customers that match with the level of a new meaning. This research will benefit a lot to entrepreneurs in Furniture Industry. Moreover, this research can be applied in other academic studies in order to extend its scope to cover other industries. A Responsive Website was developed by which entrepreneurs could easily access to the model by any devices.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60786
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.380
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.380
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487803820.pdf7.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.