Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61033
Title: | ผลกระทบจากการเก็บภาษีเงินได้จากค่าสิทธิ : ศึกษาธุรกิจยานยนต์สมัยใหม่ |
Authors: | ทวีพร ขวาของ |
Email: | [email protected] |
Advisors: | ทัชชมัย ทองอุไร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Subjects: | อุตสาหกรรมยานยนต์ พลังงานไฟฟ้า |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลมีแนวคิดพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต โดยยานยนต์สมัยใหม่ตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรม คือ ยานยนต์ที่ขับเคลื่อนโดยใช้พลังงานสะอาด (Green energy) เช่น พลังงานไฟฟ้า แทนพลังงานเชื้อเพลิงแบบเดิม หรือเรียกว่า ยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ในระดับสากล สภาพทั่วไปของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยเป็นการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ โดยบริษัทผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่ของโลก ซึ่งเข้ามาจัดตั้งบริษัทลูกในประเทศไทยเพื่อประกอบกิจการผลิตยานยนต์จาหน่ายทั้งในประเทศและส่งออก ดังนั้น การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่จึงมีความจาเป็นจะต้องโอนถ่ายนวัตกรรม เทคโนโลยีการผลิตจากบริษัทแม่ในต่างประเทศมายังบริษัทลูกในประเทศไทย ซึ่งการการถ่ายโอนนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตสามารถทาได้โดยให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาบางประเภท เช่น ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า และสิทธิบัตร เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทลูกในประเทศไทยยังมีความจาเป็นจะต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ วิทยาการทางวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ ความช่วยเหลือทางเทคนิคต่างๆ จากบริษัทแม่ในต่างประเทศ ซึ่งค่าตอบแทนที่เกิดขึ้นจากการให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและการถ่ายทอดวิทยาการความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตในบางธุรกรรมถือเป็นเงินได้ค่าสิทธิ การพิจารณาของกรมสรรพากรในเรื่องค่าสิทธิไม่เป็นไปตามความหมาย “ค่าสิทธิ” ตามต้นแบบอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น เงินได้หรือค่าตอบแทนจากการวิจัยและพัฒนา เงินได้หรือค่าตอบแทนจากการให้บริการด้านวิศวกรรม และเงินได้หรือค่าตอบแทนการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค ส่งผลทำให้ธุรกิจยานยนต์มีภาระภาษีเงินได้จากค่าสิทธิ แต่จากการศึกษาพบว่า ธุรกรรมดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการ ซึ่งอยู่ในความหมายของ “กำไรธุรกิจ” หากบุคคลผู้มีเงินได้มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย หรือไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย เงินได้จากกาไรธุรกิจจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ตามอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศ การพิจารณาค่าสิทธิของกรมสรรพากรดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาการตีความค่าสิทธิที่ไม่สอดคล้องกับหลักตีความกฎหมายภาษีโดยเคร่งครัดและไม่สอดคล้องตามหลักการตีความอนุสัญญาระหว่างประเทศ ส่งผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ |
Description: | เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61033 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.27 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2017.27 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
598 61842 34.pdf | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.