Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61057
Title: การศึกษาการประยุกต์ใช้ทฤษฎีกราฟเพื่อใช้ในการดึงข้อมูลลักษณะวัตถุจากข้อมูลไลดาร์
Other Titles: A study of graph theory approach for feature extraction from LiDAR data
Authors: ธุวชิต แฉล้มเขตต์
Advisors: ธงทิศ ฉายากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ทฤษฎีกราฟ
การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล
Graph theory
Remote sensing
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันข้อมูลไลดาร์เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญเทคโนโลยีหนึ่งในการสำรวจและรังวัดมีการนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ อย่างไรก็ตาม จากการนำไปประยุกต์ใช้งานยังคงพบปัญหาที่เกิดขึ้นประการหนึ่ง คือ ข้อมูลที่ได้จากไลดาร์เป็นข้อมูลที่บอกได้เพียงพิกัดในสามมิติ ทำให้เราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งานได้ทันที ต้องมีการวิเคราะห์และแปลตีความ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ตามแต่ละประเภทของการใช้งาน การดึงข้อมูลลักษณะวัตถุออกจากข้อมูลไลดาร์ถือเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะช่วยให้การวิเคราะห์และแปลตีความข้อมูลทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น จากความรู้ที่ว่าสมาชิกในปริภูมิจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน ทฤษฎีกราฟเป็นเทคนิควิธีการหนึ่งที่ใช้สำหรับนำเสนอความสัมพันธ์เหล่านี้ได้ดี ดังนั้น การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงนำทฤษฎีกราฟมาใช้ในการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการนำทฤษฎีกราฟมาประยุกต์ใช้ในการดึงข้อมูลลักษณะวัตถุจากข้อมูลไลดาร์โดยการศึกษาครั้งนี้ได้เลือกลักษณะพื้นที่ศึกษาทั้งหมด 7กรณีศึกษา คือ บ้านที่มีหลังคาแบบจั่ว บ้านที่มีการต่อเติมหลังคา ต้นไม้ อาคารที่มีหลังคาแบบราบ(flat roof) แปลงนา แปลงนาและต้นไม้ใหญ่ และลักษณะ บ้านที่อยู่ติดกันสองหลัง โดยการทดลองครั้งสุดท้ายจะนำผลที่ได้มาทำการเปรียบเทียบกันระหว่างจุดที่ตรงกันและไม่ตรงกัน แล้วคำนวณเป็นค่าร้อยละ ผลจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่า ได้รูปแบบและวิธีการนำทฤษฎีกราฟไปประยุกต์ใช้ในการดึงข้อมูลได้1 รูปแบบ 2 ขั้นตอน และ 2 วิธี โดยขั้นตอนที่ 1 ใช้วิธีที่1 คือ กราฟต้นไม้ และ ขั้นตอนที่ 2 ใชวิธีที่ 2 คือ cluster graph เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายกรณีศึกษาเปรียบเทียบจุดที่ตรงกันและไม่ตรงกันที่ได้จากกราฟกับภาพถ่ายทางอากาศพบว่า กรณีที่ 1 มีจุดที่ตรงกัน 87.67% กรณีที่ 2 มีจุดที่ตรงกัน 89.18% กรณีที่ 3 มีจุดที่ตรงกัน 60.56% กรณีที่ 4 มีจุดที่ตรงกัน 67.29% กรณีที่ 5 มีจุดที่ตรงกัน 100% กรณีที่ 6 มีจุดที่ตรงกัน 93.10% และกรณีที่ 7 มีจุดที่ตรงกัน 73.07%
Other Abstract: The lidar data was one of the key technologies in the exploration and surveying technology. However, the implementation in various fields of its application. To retrieve the Feature Extraction from LiDAR data is one of the methods that will provide analysis and interpretation of data quickly and easily. The knowledge which related in space related. Graph theory is a technique which used to present these relationships as well. Therefore, this study is to use graph theory .The objective was to study patterns and how to apply graph theory are applied to feature extraction from LiDAR data. This study has a total area of seven case studies are gable roof, an addition of a roof, tree, flat roof, tree and paddy rice plants and the two adjacent houses. The trail of the effects were compare match and mismatched then calculated as a percentage. For the last experiment. The results were compared between the matched and mismatched. Then calculated as a percentage. The study found that the format and approach to the apply graph theory for feature extraction to the data a two-step model and two methods. In first step, use tree and second step use cluster graph. When considered as a case study which the mismatch and matching of data of graph and aerial photo. The indications of the case are as following that Case one has a corresponding 87.67%, Case 2 has a corresponding 89.18%, Case 3 had a corresponding 60.56%, Case 4 has a corresponding 67.29%, Case 5 corresponding to 100%, 6 Case has a corresponding 93.10%, and Case 7 matches with a corresponding 73.07%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ระบบสารสนเทศปริภูมิทางวิศวกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61057
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2194
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2194
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tuvachit Chalamkate.pdf4.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.