Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61079
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชชมัย ทองอุไร-
dc.contributor.authorยศวดี บุญยะกาพิมพ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-17T06:47:24Z-
dc.date.available2018-12-17T06:47:24Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61079-
dc.descriptionเอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractตามกฎหมาย สรรพากรปัจจุบันพิจารณาว่าผู้มีเงินได้จากสัญญาขายฝากและสัญญาซื้อขายเสร็จ เด็ดขาดเสียภาษีในรูปแบบเดียวกันคือเสียภาษีเงินได้จากการขายตามมาตรา 40(8) เนื่องจากทั้งสองสัญญาดังกล่าวมีรูปแบบทางกฎหมายเป็นสัญญาซื้อขาย ผู้ขายฝากจึงมีหน้าที่ที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากการขายตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากรเช่นเดียวกับผู้ขายในสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และ ณ วันที่ผู้ขายฝากนำเงินสินไถ่มาให้ผู้ซื้อฝากเพื่อเป็นการไถ่ทรัพย์คืน ผู้ซื้อฝากก็มีภาระภาษีเงินได้จากการขายตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากรเช่นกัน เนื่องจากเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์คืนให้แก่ผู้ขายฝากถือเป็นการขาย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของสัญญาขายฝาก จะเห็นได้ว่าคู่สัญญาทำสัญญาขายฝากเพื่อมุ่งประโยชน์ทางการให้สินเชื่อ ไม่ได้มุ่งไปที่การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังเช่นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด การเก็บภาษีจากผู้มีเงินได้ตามสัญญาขายฝากในรูปแบบเดียวกับผู้มีเงินได้จากสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดจึงไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่แท้จริงของสัญญา ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี ผู้มีเงินได้จากสัญญาขายฝากและสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดไม่ควรเสียภาษีในรูปแบบเดียวกันจากปัญหาการจัดเก็บภาษีจากผู้มีเงินได้ตามสัญญาขายฝากในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์อันแท้จริงของสัญญา ส่งผลให้ภาษีซึ่งเป็นเครื่องมือในการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมกลับเป็นสิ่งที่ ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น ดังนั้น รัฐบาลควรพิจารณากำหนดวิธีการจัดเก็บภาษีเงินได้จากผู้มีเงินได้ตามสัญญาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่แท้จริงของธุรกรรมที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาถึงประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของสินทรัพย์และความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสำคัญของความเป็นเจ้าของ รวมถึงอำนาจการควบคุมสินทรัพย์เป็นสำคัญ มิได้คำนึงถึงรูปแบบทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว จะทำให้การจัดเก็บภาษีสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการทำสัญญามากขึ้น หากวิธีการจัดเก็บภาษีเป็นไปตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงแล้ว จะส่งผลให้การจัดเก็บภาษีของประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ก่อให้เกิดความเป็นธรรมและเท่าเทียมกันแก่คนในสังคมได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ประชาชนก็จะมีทัศนคติที่ดีต่อการเสียภาษี และเสียภาษีด้วยความสมัครใจ รัฐบาลจะได้มีเงินคงคลังเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศอื่นได้สืบไปen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.55-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษีเงินได้en_US
dc.subjectการชำระภาษีen_US
dc.titleความไม่เหมาะสมของการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับสัญญาขายฝากศึกษาเปรียบเทียบกับแม่บทการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.subject.keywordสัญญาขายฝากen_US
dc.subject.keywordสัญญาซื้อขายen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.55-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 62340 34.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.