Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61082
Title: | หลักปฏิบัติที่เป็นธรรมและเท่าเทียม (Fair and Equitable Treatment) ในกฎหมายส่งเสริมการลงทุนของไทย : ศึกษากรณีกฎหมายการลงทุนเมียนมาร์ |
Authors: | รัฐศรัณย์ ธนไพศาลกิจ |
Advisors: | ทัชชมัย ทองอุไร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การลงทุนและส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | หลักปฏิบัติที่เป็นธรรมและเท่าเทียม (Fair and Equitable Treatment – FET) เป็นหลักมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้คุ้มครองผู้ลงทุนต่างชาติจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ไม่ถูกต้อง หรือโดยพลการ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ลงทุนต่างชาติในการเลือกที่จะเข้ามาลงทุนในแต่ละประเทศ โดยมีหลักสำคัญที่มักปรากฏควบคู่กันคือ หลักการไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discrimination) หลักมาตรฐานขั้นต่ำระหว่างประเทศ (International Minimum Standard) และหลักความคาดหวังที่ชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Expectations) ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ประเทศเมียนมาร์ได้มีการปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้ง ได้มีการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายการลงทุนให้ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นการลดขั้นตอนการขอใบอนุญาตการลงทุน การแก้ไขสิทธิประโยชน์การลงทุนให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเพิ่มบทบัญญัติต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการลงทุนสากลเพื่อสร้างความเสมอภาคระหว่างผู้ลงทุนต่างชาติและในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการนาหลัก FET มาบัญญัติไว้ในกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ที่ชื่อว่า “กฎหมายการลงทุนเมียนมาร์” (Myanmar Investment Law) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 ในขณะที่ประเทศไทย แม้จะมีการบัญญัติหลัก FET ไว้ในสนธิสัญญาหรือความตกลงเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (Bilateral Investment Treaties – BITs) แทบทุกฉบับ แต่ก็ยังไม่เคยมีการนาหลัก FET มาบัญญัติไว้ในกฎหมายการลงทุนภายในประเทศตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แต่อย่างใด หากพิจารณาทิศทางเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment – FDI) ของเมียนมาร์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้เขียนเชื่อว่าเป็นผลมาจากการที่เมียนมาร์มีการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายการลงทุน รวมถึงได้มีการบัญญัติหลัก FET ลงในกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ ซึ่งเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุนต่างชาติ ในขณะที่ทิศทาง FDI ของไทยในช่วงเวลาเดียวกันกลับมีแนวโน้มลดลง จึงเป็นที่น่ากังวลว่าหากไทยไม่ได้มีการปรับปรุงกฎหมายส่งเสริมการลงทุนเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุนต่างชาติ ไทยอาจสูญเสีย FDI ไปให้กับเมียนมาร์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีความคล้ายคลึงกับไทยในหลาย ๆ ด้าน และอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจประเทศได้ในที่สุด หากเปรียบเทียบหลัก FET ในกฎหมายการลงทุนเมียนมาร์กับหลัก FET ตามทางเลือกนโยบายในระดับต่าง ๆ (Framework for International Investment Agreement (IIAs): Policy Options) ภายใต้กรอบนโยบายการลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของอังค์ถัด (UNCTAD’s Investment Policy Framework for Sustainable Development – IPFSD) พบว่าหลัก FET ในกฎหมายการลงทุนเมียนมาร์มีการมุ่งเน้นไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบ IPFSD ของอังค์ถัดในระดับปานกลาง ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเสนอว่าประเทศไทยควรกำหนดหลัก FET ไว้ในกฎหมายส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้เท่าเทียม หรือดีกว่ากฎหมายการลงทุนของเมียนมาร์ในเรื่องนี้ เพื่อลดการสูญเสีย FDI โดยอ้างอิงตามทางเลือกนโยบายฯ ให้มีการมุ่งเน้นไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบ IPFSD ของ อังค์ถัดในระดับปานกลาง หรือระดับมาก ซึ่งจะเป็นการทาให้เกิดความโปร่งใส ชัดเจน แน่นอน และเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุนต่างชาติ ในขณะที่ไม่เป็นการตีกรอบในการบังคับใช้กฎหมายของรัฐไทยจนเกินไป เพราะได้มีการนาหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืนมาพิจารณาประกอบด้วย |
Description: | เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61082 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.18 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2017.18 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
598 62385 34.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.