Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61089
Title: | มาตรการทางภาษีท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนธุรกิจผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมเพื่อความยั่งยืนทางพลังงานของประเทศไทย |
Authors: | สิทธิสาณ ชุมพล |
Advisors: | ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การผลิตพลังงานไฟฟ้า กังหันลม |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ประเทศไทยพึ่งพาเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่มาจากก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 60 และเชื้อเพลิงถ่านหินสูงถึงร้อยละ 18 ถือได้ว่าประเทศไทยของเรามีอัตราการพึ่งพาเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วหมดไปเพื่อผลิตไฟฟ้าสูงมากประเทศหนึ่งของโลก รัฐบาลจึงต้องการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในภาพรวมของทั้งประเทศให้อยู่ที่ร้อยละ 20 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 เท่าตัว และรัฐบาลได้มีการผลักดันให้ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนเพื่อจาหน่ายให้แก่ภาครัฐ โดยรัฐบาลกำหนดให้มีมาตรการสนับสนุนต่างๆเพื่อจูงใจผู้ผลิต เช่น การเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า การบรรเทาภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลและอากรขาเข้าเครื่องจักร เป็นต้น แต่จากการวิจัยผู้เขียนพบว่ายังขาดมาตรการทางภาษีท้องถิ่นที่ชัดเจนโดยเฉพาะกรณีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ปัจจุบันพบว่า การประเมินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นนั้นมีความไม่แน่นอนและอาศัยดุลพินิจในการประเมินค่ารายปี ผู้เขียนพบว่าการประเมินมูลค่ากังหันลมเพื่อหาค่ารายปีที่ทรัพย์สินสมควรให้เช่าได้นั้นทำได้ยากมาก ซับซ้อน และขึ้นอยู่กับการตีความข้อกฎหมายและสมมุติฐานอื่นๆที่ไม่ชัดเจน ทำให้ภาระภาษีมีความไม่แน่นอนและเป็นอุปสรรคต่อผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ถึงแม้ว่าร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะนามาใช้แทนก็ยังไม่ได้ไม่คำนึงถึงทรัพย์สินประเภทกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้า และผู้เขียนพบว่า ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหากำมาใช้ การเสียภาษีจากมูลค่าสิ่งปลูกสร้างที่เป็นกังหันลมที่มีต้นทุนสูง และมูลค่าที่ดินผืนใหญ่ ยิ่งจะทำให้ภาระภาษีเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เป็นอุปสรรคต่อผู้ผลิตไฟฟ้าและส่งผมกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ เนื่องจากโครงสร้างเสากังหันลม กังหันลมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าสูงมาก มีลักษณะที่ไม่เหมือนกับสิ่งปลูกสร้างอื่นๆทั่วไป ธุรกิจผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมต้องใช้มี่ดินจำนวนมาก จึงทำให้มีภาระภาษีทรัพย์สินที่สูงมากจนเป็นอุปสรรค ทั้งๆที่ธุรกิจนี้มีส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายของต่างประเทศที่กำหนดบทบัญญัติในการจัดเก็บภาษีที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับผู้ปะกอบการด้านพลังงานทดแทน และมีผลเป็นการสร้างความแน่นอนทางภาษีและบรรเทาภาระภาษีในการประกอบธุรกิจประเภทนี้ ดังนั้น ผู้เขียนมีข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยเสนอให้ตราบทบัญญัติกฎหมายภาษีทรัพย์สินที่มีลักษณะเฉพาะ เพื่อเก็บภาษีผู้ประกอบการด้านพลังงานทดแทนให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม โดยมีหลักการคล้ายๆกับมาตรการทางภาษีท้องถิ่นของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการออกกฎหมายเฉพาะขึ้นมาเพื่อเก็บภาษีผู้ประกอบการด้านพลังงานทดแทน หรือที่เรียกกันว่า Nameplate Capacity Tax ซึ่งเป็นการพัฒนาปรับปรุงการวิธีการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นให้มีความเหมาะสมกับกิจการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลม เพื่อลดการใช้ดุลพินิจ เพื่อส่งเสริม และสร้างความยั่งยืนทางพลังงานของประเทศไทย |
Description: | เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61089 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.50 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2017.50 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
598 62574 34.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.