Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61094
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชชมัย ทองอุไร-
dc.contributor.authorอัณษิฏา นันทพิสิฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-24T04:50:37Z-
dc.date.available2018-12-24T04:50:37Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61094-
dc.descriptionเอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่มีอัตราการเกิดและการตายของประชากรต่ำ ซึ่งทำให้ ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” (Aging Society) และส่งผลให้ภาครัฐมีภาระหน้าที่ในการดูแล ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องดำเนินนโยบายและมาตรการเพื่อรองรับสังคม ผู้สูงอายุในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านหลักประกันรายได้ ด้านสาธารณสุข และด้านสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ มาตรการทางภาษีเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ภาครัฐนำมาใช้เพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าว จาก การศึกษาพบว่ามาตรการภาษีของประเทศไทยมีหลากหลายมาตรการ แต่บางมาตรการยังมีข้อจำกัด ในการใช้ เช่น ข้อจำกัดของการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับรายจ่ายในการจ้างงานผู้สูงอายุที่ไม่ช่วยสนับสนุนการจ้างงานที่เพียงพอ การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่จ่ายค่าเบี้ยประกันสุขภาพและเบี้ยประกันชีวิตที่ยังไม่ครอบคลุมถึงกลุ่ม ประชาชนส่วนใหญ่ที่ไม่มีการทำประกันด้วยตนเอง ส่งผลให้ประชาชนยังคงต้องพึ่งพาการช่วยเหลือ จากภาครัฐในการรักษาพยาบาล และข้อจำกัดของการลดหย่อนเงินบริจาคให้แก่กองทุนผู้สูงอายุ สถานสงเคราะห์ สถานพักฟื้นบำบัดและฟื้นฟูสุขภาพคนสูงอายุ ซึ่งเงินที่ได้รับจากการบริจาคไม่มี ความสม่ำเสมอและไม่แน่นอน นอกจากสถานสงเคราะห์จะไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้สูงอายุแล้ว ยังมี ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยที่ยังขาดที่พักอาศัยที่เหมาะสมในการดำรงชีพ ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ของภาครัฐในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มนี้ด้วย จากการศึกษามาตรการทางภาษีเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มี อัตราประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก พบว่ามีแนวทางในการนำมาตรการทางภาษีของประเทศ ญี่ปุ่นมาปรับใช้กับประเทศไทย โดยการเพิ่มเติมมาตรการทางภาษีที่สำคัญ คือ มาตรการการลดหย่อนเงินที่จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล เพื่อส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนและผู้สูงอายุ โดยการบรรเทาภาระค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินจากระบบประกันสุขภาพและประกันชีวิต รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่หลักประกันไม่คุ้มครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้สิทธิลดหย่อนเงินที่จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้มีเงินได้ที่มีภาระในการดูแลบิดามารดาและอุปการะดูแลผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ร่วมกัน เป็นต้น ทั้งนี้ การใช้มาตรการดังกล่าวควรมีการกำหนดขอบเขตของค่าใช้จ่ายที่นำมาลดหย่อนให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีของภาครัฐ และมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นโครงการที่ภาครัฐกำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันแต่ยังขาดแรงจูงใจที่จะได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนในการดำเนินการเพื่อรองรับประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งที่พักอาศัยดังกล่าวต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของผู้สูงอายุ และมีการบริการทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม โดยภาครัฐควรให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น สิทธิในการหักค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้น สิทธิการได้ลดภาษีทรัพย์สิน และสิทธิการได้ลดภาษีจาการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นมาตรการทางภาษีที่สร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการมากขึ้น และลดความกังวลในเรื่องความคุ้มค่าของการลงทุน สิ่งที่ต้องพิจารณาในการนำมาตรการทางภาษีมาใช้คือ การกำหนดช่วงระยะเวลาในการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และความเหมาะสมของสิทธิประโยชน์แต่ละประเภท มาตรการทางภาษีเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพในการรองรับผู้สูงอายุนั้น จะช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองและส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุจากภาคประชาชนมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้งบประมาณค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุของภาครัฐลดลงได้ส่วนหนึ่ง อันเป็นการบรรเทาภาระหน้าที่ของภาครัฐในการดูแลผู้สูงอายุที่สำคัญen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.30-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสูงวัยของประชากรen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิตen_US
dc.titleมาตรการทางภาษีเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.subject.keywordสังคมผู้สูงอายุen_US
dc.subject.keywordมาตรทางภาษีen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.30-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 62728 34.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.