Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61192
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบบทละครโนเรื่องโคอุกับเรื่องมิชิโมะริ |
Other Titles: | Comparative study of the Noh Plays Kouu And Michimori |
Authors: | มนัญชยา บุญศรี |
Advisors: | สิริมนพร สุริยะวงศ์ไพศาล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ละครโนะ วรรณกรรมญี่ปุ่น -- ประวัติและวิจารณ์ ตัวละครและลักษณะนิสัยในวรรณกรรม No Japanese literature -- History and criticism Characters and characteristics in literature |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรกเพื่อศึกษากลวิธีการสร้างบทละครโนเรื่อง โคอุ กับเรื่อง มิชิโมะริ ด้วยการเปรียบเทียบบทละครโนกับวรรณกรรมสงครามที่เป็นตัวบทต้นแบบ โดยเปรียบเทียบบทละครโนเรื่อง โคอุ กับตัวบทต้นแบบจากวรรณกรรมสงครามเรื่อง ทะอิเฮะอิกิ และเปรียบเทียบบทละครโนเรื่อง มิชิโมะริ กับตัวบทต้นแบบจากวรรณกรรมสงครามเรื่อง เฮะอิเกะโมะโนะงะตะริ และประการที่สองเพื่อศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการสร้างอารมณ์สะเทือนใจในบทละครโนทั้งสองเรื่อง จากการศึกษาพบว่าบทละครโนทั้งสองเรื่องมีการดัดแปลงจากวรรณกรรมสงครามที่เป็นตัวบทต้นแบบเพื่อเพิ่มอารมณ์สะเทือนใจ นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบวิธีสร้างอารมณ์สะเทือนใจในบทละครโนทั้งสองเรื่องแล้วพบว่า บทละครเรื่อง มิชิโมะริ มีกลวิธีการสร้างที่ทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจมากกว่าบทละครโนเรื่อง โคอุ เนื่องจากบทละครโนเรื่อง มิชิโมะริ มีส่วนประกอบที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของคู่สามีภรรยามากกว่าบทละครโนเรื่อง โคอุ เช่นบทขับร้องแสดงความรู้สึกของตัวละคร และการที่ผู้ประพันธ์บทละครโนให้คู่สามีภรรยามาปรากฏกายพร้อมกันทั้งสององก์ เป็นต้น |
Other Abstract: | This study aims at 1) studying the production of two Noh plays: Kouu and Michimori by comparing each play with its original war literature. In this study, Kouu is compared with Taiheiki while Michimori is compared with Heikeimonongatari 2) comparing the emotion creation techniques used in both plays. From the result of study, it is found that both plays are adapted from their original war literatures to build up emotions. In addition, a comparison between emotion creation techniques used in these two plays shows that Michimori can build up more emotions than Kouu because it has more elements that show the close relationship between the spouse than Kouu, for example its lyrics reflects well the characters’ emotions; and the playwright also gives a presentation of the husband and his wife at the same time in both acts. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาญี่ปุ่น |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61192 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.937 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.937 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5680180322.pdf | 2.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.