Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61205
Title: | การเปรียบเทียบความยาวคลองรากฟันกรามน้ำนมระหว่างวิธีคำนวณจากภาพรังสีรอบปลายรากกับวิธีวัดจากเครื่องกำหนดตำแหน่งปลายคลองรากฟันด้วยไฟฟ้า |
Other Titles: | The comparison of root canal length in primary molars between calculating from periapical radiograph and electronic apex locator |
Authors: | สุชยา ตั้งธรรม |
Advisors: | สมหมาย ชอบอิสระ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | คลองรากฟัน ฟันกราม ฟันน้ำนม เด็ก -- การดูแลทันตสุขภาพ Dental pulp cavity Molars Deciduous teeth Children -- Dental care |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างในการวัดความยาวคลองรากฟันกรามน้ำนมจำนวน 40 คลองรากฟัน ระหว่างวิธีคำนวณจากภาพรังสีรอบปลายราก เปรียบเทียบกับวิธีวัดจากเครื่องกำหนดตำแหน่งปลายคลองรากฟันด้วยไฟฟ้า โดยวิธีคำนวณจากภาพรังสีรอบปลายราก จะใช้ไฟล์ที่มีขนาดพอดีกับคลองรากใส่ในคลองรากฟัน กรอตัดตัวฟันบริเวณที่สัมผัสกับตำแหน่งของยางซิลิโคนให้ตั้งฉากกับแนวแกนไฟล์ในคลองราก เพื่อใช้เป็นตำแหน่งอ้างอิงแล้วถ่ายภาพรังสี นำฟิล์มที่ได้มาคำนวณค่าความยาวคลองรากฟัน สำหรับวิธีวัดจากเครื่องกำหนดตำแหน่งปลายคลองรากฟันด้วยไฟฟ้า ใช้ไฟล์ตัวใหม่ที่มีขนาดเดียวกับที่ใช้ในวิธีคำนวณจากภาพรังสีใส่ในคลองรากฟันเดิม จัดแผ่นยางซิลิโคนให้สัมผัสตำแหน่งอ้างอิงเดียวกัน เมื่อเครื่องอ่านค่าที่ตำแหน่ง “เอเพกซ์” ใช้เป็นค่าความยาวคลองรากฟัน ทำการวิเคราะห์ผลการศึกษาด้วยสถิติแพร์ ที เทสต์ พบว่ากรณีที่รากฟันไม่มีการละลายหรือมีการละลายเพียงเล็กน้อย ค่าเฉลี่ยความยาวคลองรากฟันกรามน้ำนมที่ได้จากวิธีคำนวณจากภาพรังสีรอบปลายราก เปรียบเทียบกับความยาวที่วัดจากเครื่องกำหนดตำแหน่งปลายคลองรากฟันด้วยไฟฟ้า เมื่ออ่านค่าที่ตำแหน่งเอเพกซ์ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ซึ่งค่าความยาวคลองรากฟันเฉลี่ยที่ได้จากวิธีคำนวณจากภาพรังสีรอบปลายรากมากกว่าค่าที่วัดได้จากเครื่องกำหนดตำแหน่งปลายคลองรากฟันด้วยไฟฟ้าเท่ากับ 0.26 ± 0.86 มิลลิเมตร |
Other Abstract: | The aim of this study was to compare the difference of root canal length in 40 root canals of primary molars measuring by calculating from periapical radiograph versus electronic apex locator. In calculating from periapical radiographic method, the file which fits to the root canal was inserted into the root canal. Crown surface which contacts the stopper was cut perpendicular to the axis of the file and was used as reference point, then took the radiograph. The root canal length was calculated from the periapical radiograph. In electronic apex locator method, the new file but the same size was inserted into the same root canal. The stopper was placed at the same reference point on the crown. The root length was measured when the electronic apex locator reads at “APEX”. This value was used as the root canal length from the electronic apex locator. The root canal lengths measured by both methods were compared and statistically analyzed by paired t-test. In case of no or mild root resorption, the results showed no statistically significant difference in root canal lengths from the two methods (p>0.05). The mean of root canal length from calculating from periapical radiographic method was more than electronic apex locator 0.26 ± 0.86 mm. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ทันตกรรมสำหรับเด็ก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61205 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1661 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1661 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suchaya Tangtham.pdf | 867.15 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.