Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61213
Title: | การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพของบัณฑิต ในสาขาที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน |
Other Titles: | The development of an education provision model to enhance professional competencies of graduates in the workforce shortage fields of study |
Authors: | สุธิดา หอวัฒนกุล |
Advisors: | อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ วราภรณ์ บวรศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | สถาบันอุดมศึกษา -- หลักสูตร การวางแผนหลักสูตร ระบบการเรียนการสอน -- การออกแบบ Universities and colleges -- Curricula Curriculum planning Instructional systems -- Design |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพของบัณฑิต ในสาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหารและการบริการและสาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ และพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพของบัณฑิตในสาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหารและการบริการและสาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 สาขาวิชา ได้แก่ ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในระดับคณบดีและประธานสาขา จำนวน 16 คน อาจารย์ จำนวน 62 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน และผู้ใช้บัณฑิตจำนวน 7 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามผู้สอน แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบสัมภาษณ์ผู้ใช้บัณฑิต ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพการจัดการศึกษาในปัจจุบันของทั้ง 2 สาขาวิชา พบว่า เน้นกลยุทธ์การสอนที่ใช้ปฏิบัติงานได้จริง จัดการเรียนรู้ที่เน้นมาตรฐานผลการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยและพัฒนา มีการจัดการศึกษาโดยวางแผนร่วมกับตลาดแรงงานและผู้ประกอบการ มีการประสานงานอย่างชัดเจน กำหนดสมรรถนะร่วมกับสถานประกอบการ มีการส่งเสริมการเปิดตัวทางวิชาชีพโดยการแสดงผลงาน และให้ความรู้แก่ชุมชน ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญและสถานประกอบการในการให้การศึกษาโดยการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และมีความต้องการในการพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ 2. การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพของบัณฑิตในสาขาที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงานในระดับนโยบายของประเทศ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายสู่ความสำเร็จ ยุทธศาสตร์สมรรถนะ เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ดำเนินการ และแผนงานโครงการ 3. สมรรถนะทางวิชาชีพของบัณฑิตในสาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหารและการบริการและสาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับในระดับสถาบัน เน้นความรู้ความเชี่ยวชาญทักษะหลักในวิชาชีพของบัณฑิต ผู้สอนและผู้ใช้บัณฑิตร่วมสร้างและประเมินหลักสูตร พัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ ประเมินผลโดยการฝึกปฏิบัติ ประสานงานวิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพร่วมกับสถานประกอบการและชุมชนท้องถิ่น สร้างมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพไปสู่การทำงานในต่างประเทศ ทักษะการคิด คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ ความสามารถทางด้านธุรกิจ และภาษาต่างประเทศ |
Other Abstract: | The objectives of this research were both to study the present state of education provision and to develop education provision model for enhancing professional competencies of graduates in the fields of food and service industry as well as jewelry and ornament industry. The populations and samples from both fields of study were 16 administrators of higher education institutions (deans or chairs of said programs), 62 faculty members, 3 specialists, 4 experts, and 7 employers. Research instruments were questionnaires for instructors and interview forms for administrators, specialists, experts and employers. Research results were: 1. It was found that, for the present state of education provision of both fields of study, outcome-based teaching strategies and learning result standards were focused. Additionally, the learning process was based on researches and developments; while, education provision has been planned in conjunction with labor markets and entrepreneurs. Likewise, the apparent collaboration with entrepreneurs in determining the competencies has also been found. The vocational introduction was promoted by means of the exhibitions and knowledge dissemination for the communities. The cooperation with specialists and entrepreneurs in education provision through field training programs were also found. Qualification standard development was also desired. 2. The development of education provision model to enhance professional competencies of graduates in the shortage fields of study at the level of national policy consisted of visions, missions, achievement goals, competency strategies, objectives, operation strategies and project plans. 3. With respect to professional competencies of graduates in the fields of food and service industry as well as jewelry and ornament industry at institutional level, the graduates’ expertise and knowledge in the principles of professional conduct were focused. Meanwhile, the instructors and employers co-designed and assessed the curriculum, developed instructional standards, made the assessment based on the practicum, sought the collaboration on research works with entrepreneurs and communities, created professional qualifications towards working overseas as well as enhanced the thinking skill, moral and ethics, professional code of ethics and potential in business and foreign languages. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61213 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1669 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1669 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sutida Howattanakul.pdf | 2.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.