Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61847
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ-
dc.contributor.advisorดวงกมล นันทศรี-
dc.contributor.authorธัชชา สามพิมพ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-05-16T02:35:50Z-
dc.date.available2019-05-16T02:35:50Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61847-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ซีโอไลต์เอจากกากซิลิกา-อะลูมินาที่ใช้แล้ว ซึ่งปรับสภาพด้วยการร่อนผ่านตะแกรงขนาด 200 เมช และเผาที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส มาใช้เป็นแหล่งของซิลิกา-อะลูมินาในการสังเคราะห์ซีโอไลต์เอ การทดลองนี้จะใช้องค์ประกอบเริ่มต้นเดียวกันตามสัดส่วนโดยโมลดังนี้ Al₂O₃ : 1.926 SiO₂ : 3.165 Na₂O : 128 H₂O โดยแบ่งวิธีการสังเคราะห์ออกเป็น 3 ส่วนคือศึกษาการสังเคราะห์ด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มัล ศึกษาการสังเคราะห์ด้วยวิธีไมโครเวฟ และศึกษาการสังเคราะห์ด้วยวิธีแบบผสมสภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ซีโอไลต์เอ คือ การสังเคราะห์ด้วยวิธี ไฮโดรเทอร์มัล โดยละลายกากที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ทำการกรองกากที่ไม่ละลายทิ้งจากนั้นผสมสารตั้งต้นที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที สุดท้ายสังเคราะห์ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 และ 4 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่า ซีโอไลต์เอที่สังเคราะห์ได้มีค่าความเป็นผลึกเท่ากับ 97.03 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งซีโอไลต์เอที่สังเคราะห์ได้มีลักษณะโครงสร้างภายนอกเป็นทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ที่ชัดเจนจากการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบส่องกราด และพบว่ามีค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนแคลเซียม เท่ากับ 277.01 และ 293.50 มิลลิกรัมของแคลเซียมคาร์บอเนตต่อกรัมของซีโอไลต์แอนไฮดรัส ตามลำดับ ซึ่งพบว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.1422/2540) ทั้งสองสภาวะ โดยได้กำหนดมาตรฐานไว้ที่ 270 มิลลิกรัมของแคลเซียมคาร์บอเนตต่อกรัมของซีโอไลต์แอนไฮดรัสen_US
dc.description.abstractalternativeThis research investigated the synthesis of Na-A zeolite by using spent silica-alumina, that submitted to screening at 200 mesh and to calcination at 700 °C, were used as a silica-alumina source for Na-A zeolite synthesis. This experiment using the same starting material following composition: Al₂O₃ : 1.926 SiO₂ : 3.165 Na₂O : 128 H₂O. The method of synthesis was devided into 3 parts. Part I, the effects of hydrothermal synthesis. Part II, the effects of microwave synthesis. Part III, the effects of mixed synthesis. The optimum conditions to synthesize Na-A zeolite was reported. Pretreated Silica-alumina was dissolved with sodium hydroxide solution at 60 °C for 24 h. Then, filtered the insoluble waste left. After that, Mixed the reactant rapidly at 60 °C for 10 min. Finally, synthesized at 90 °C for 3 and 4 h, The result indicated that the synthesize Na-A zeolite giving the crystallinity of 97.03 % and 100 % respectively. The scanning electron microscope reported that the synthesize Na-A zeolite were obviouslycubic in shape. The cation exchange capacities were found at 277.01 and 293.50 mg of calcium/g of zeolite anhydrous respectively. The both values still within the TIS 1422/2540 (270 mg of calcium/g of zeolite anhydrous)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectซีโอไลต์ -- การสังเคราะห์
dc.titleการสังเคราะห์ซีโอไลต์เอจากกากซิลิกา-อะลูมินาที่ใช้แล้วen_US
dc.title.alternativeSynthesis of na-a zeolite from spent silica - aluminaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5170327221_2553.pdf7.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.