Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6271
Title: การผลิตและลักษณะสมบัติของโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อเคลนบูเทอรอล
Other Titles: Production and characterization of monoclonal antibodies against clenbuterol
Authors: ปิยะนุช เรืองศรีอรัญ
Advisors: กิตตินันท์ โกมลภิส
ทรงจันทร์ ภู่ทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โมโนโคลนอลแอนติบอดีย์
เคลนบูเทอรอล
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เคลนบูเทอรอลเป็นสารเคมีที่อยู่ในกลุ่มบีตาขอะโกนิสต์ ชื่อทางเคมีคือ 4-amino-alpha-tert-butylaminomethyl-3, 5-dichlorbenzyl alcohol hydrochloride สูตรทางเคมี คือ C[subscript 12] H[subscript 18] c[subscript 12] n[subscript 12] O.HCI ใช้เป็นยารักษาโรคหอบหืดและโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เนื่องจากสารนี้มีผลทำให้ลดการสังเคราะห์ไขมันและเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีน จึงถูกนำไปใช้ผสมในอาหารเพื่อกระตุ้นการเจริญของสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อใช้เนื้อในการบริโภค จึงมีความเสี่ยงที่จะมีสารเคลนบูเทอรอลตกค้างอยู่ในเนื้อสัตว์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ดังนั้นจึงได้มีการจำกัดปริมาณต่ำสุดที่ยอมรับได้ของเคลนบูเทอรอลที่ตกค้างในอาหารบริโภค ในการวิจัยนี้ได้ผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อเคลนบูเทอรอล เพื่อนำแอนติบอดีไปผลิตเป็นชุดตรวจสำหรับตรวจปริมาณเคลนบูเทอรอลโดยใช้หลักการ ELISA ในการเตรียมเซลล์ไฮบริโดมาที่ผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อเคลนบูเทอรอลนั้นได้ทำการหลอมรวมเซลล์ทั้งหมด 4 ครั้งได้เซลล์ไฮบริโดมาที่ผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อเคลนบูเทอรอล 7 โคลน คือ โคลนรหัส 3/9B 1/7C 1/11G 3/9A 3/6C 6/11D และ 6/11G จากการศึกษาสมบัติของโมโนโคลนอลแอนติบอดี พบว่าโมโนโคลนอลแอนติบอดีทั้งหมดมีไอโซไทป์ เป็น IgGl จากการหาค่า IC50 ของโมโนโคลอลแอนติบอดี พบว่า มีค่า IC50 อยู่ระหว่าง 0.08-0.72 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และ มีค่า LOD อยู่ระหว่าง 5-198 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร และจากการหาค่า IC50 และ LOD ของโมโนโคลนอลแอนติบอดีโคลน 3/9A ที่ทำให้บริสุทธิ์มีค่าเท่ากับ 4 และ 0.2 นาโนกรัมต่อมิลลิลิต ตามลำดับ และทำปฏิกิริยาข้ามกับสารในกลุ่มบีตา-อะโกนิสต์ระดับหนึ่ง ดังนั้นโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่ผลิตได้มีศักยภาพเพียงพอที่จะนำไปพัฒนาเป็นชุดตรวจสารในกลุ่มบีตา-อะโกนิสต์ได้
Other Abstract: Clenbuterol, 4-amino-alpha-tert-butylaminomethy1-3, 5-dichlorbenzyl alcohol hydrochloride, belongs to a group of beta-agonists with chemical formular C[subscript 12]H[subscript 18]C[subscript 12]N[subscript 2]O.HCl. It has been used for the treatment of asthma and other respiratory conditions. Due to its effect in reducing fat deposition and enhancing protein synthesis, it has been used in feed for animals as a growth promoter in meat production. Therefore, clenbuterol residues could potentially be existed in edible animal tissue, which possibly cause health hazard in humans. Therefore, maximum residue limit of clenbuterol in food was set. In this research, the production of monoclonal antibodies against clenbuterol for the development of ELISA test kit was investigated. For preparation of hybridoma cells that secrete monoclonal antibodies against clenbuterol, somatic cell fusion was performed four times, yielding seven monoclones numbered as 3/9B, 1/7C, 1/11G, 3/9A, 3/6C, 6/11D and 6/11G. The properties ofall monoclonal antibodies were characterized. The isotypes of monoclonal antibodies were all identified as IgGl. The IC50 of monoclonal antibodies ranged between 0.08-0.72 ug/ml and the LOD value ranged between 5-198 ng/ml. The IC50 value and the LOD value of the purified monoclonal antibody number 3/9A were 4 and 0.2 ng/ml, respectively. The monoclonal antibodies cross-reacted with some beta-agonists. In conclusion, the specific monoclonal antibodies obtained from this study could be used to develop a generic test for beta-agonists.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6271
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1180
ISBN: 9741753802
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1180
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
piyanush.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.