Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62759
Title: คณะกรรมการในทางปกครองตามพระราชบัญญัติในประเทศไทย
Other Titles: Administrative committees under Thai laws
Authors: สิริพันธ์ พลรบ
Advisors: บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: นิติบัญญัติ,คณะกรรมมาธิการ
การจัดองค์การ
การบริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: รัฐในปัจจุบันหรือที่เรียกว่า "รัฐสมัยใหม่" จะมีภาระหน้าที่ในด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองเพิ่มมากขึ้น การจัดองค์การในการปกครองของรัฐจึงเพิ่มความสลับซับซ้อนขึ้น จึงได้มีการจัดองค์กรในลักษณของกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า "คณะกรรมการ" ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ของรัฐในด้านต่างๆ อันเป็นการรองรับการขยายตัวของภาระหน้าที่ของรัฐดังกล่าว ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่กำลังใช้ระบบคณะกรรมการในการปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐ ดังจะเห็นได้จากจำนวนอันมากมายของคณะกรรมการคณะต่างๆ ของฝ่ายบริหาร ซึ่งที่สำคัญและกำลังมีบทบาทในระบบการบริหารงานของประเทศในปัจจุบัน ก็คือ กลุ่มของคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติต่างๆ กว่าร้อยฉบับ โดยในการดำเนินการของรัฐโดยคณะกรรมการเหล่านี้มีปัญหาที่เด่นชัดประการหนึ่งคือ ความหลากหลายของอำนาจหน้าที่ของคณกรรมการในชุดหนึ่งๆ ซึ่งความปะปนของอำนาจหน้าที่ดังกล่าวนี้ ก่อให้เกิดปัญหาในการจัดองค์กรของคณะกรรมการทั้งทางด้านบุคลากร วิธีดำเนินการ และหน่วยธุรการ ตลอดจนการควบคุมคณะกรรมการดังกล่าวด้วย เนื่องจากคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ในแต่ละลักษณะ ไม่ว่าจะมองในด้านหลักวิชาการจัดองค์การและการบริหารซึ่งอาจแยกได้ เป็นหน้าที่ในทางนโยบายให้คำปรึกษา ฯลฯ หรือในด้านกฏหมายปกครอง ซึ่งแยกออกเป็นอำนาจหน้าที่ภายในของฝ่ายบริหาร หรืออำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกจะต้องมีโครงสร้างที่เหมาะสมตามอาจหน้าที่แต่ละลักษณะดังกล่าว ตัวอย่างเช่น คณะกรรมการที่ทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน ควรจะต้องมีการจัดองค์กร และการควบคุมการดำเนินงานที่พิเศษยิ่งไปกว่าคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ในทางบริหารตามธรรมดาโดยทั่วไป เนื่องจากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวมีผลกระทบต่อทั้งประโยชน์โดยส่วนรวมของรัฐ และสิทธิและหน้าที่ของเอกชนโดยตรงเป็นต้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงขอเสนอแนะแนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าว โดยสมควรให้มีการแยกประเภทของคณะกรรมการตามลักษณะอำนาจหน้าที่แต่ละลักษณะ ทั้งตามหลักวิชาการจัดองค์การและการบริหารและหลักกฏหมายการปกครองดังที่ยกตัวอย่างไว้ข้างต้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการพิจารณาการจัดองค์กรและการควบคุมคณะกรรมการประเภทนั้นๆ ทั้งนี้ โดยศึกษาวิเคราะประกอบกับแนวความคิดของต่างประเทศในระบบสากล ซึ่งประสบปัญหาเช่นเดียวกันนี้ และได้พัฒนาแนวความคิดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาเป็นลำดับ ได้แก่ แนวความคิดของประเทศในกลุ่มซีวิลลอว์ เช่น ประเทศฝรั่งเศสและเยอรมันที่ได้มีการแยกลักษณะการกระทำขององค์กรฝ่ายปกครองออกเป็น " นิติกรรม" ประเภทต่างๆ เช่น นิติกรรมทางปกครอง หรือนิติกรรมทางตุลาการ เป็นต้น เพื่อจัดระบบการดำเนินงานและการควบคุมที่เหมาะสมสำหรับนิติกรรมประเภทนั้นๆ หรือประเทศในกลุ่มคอมมอนลอว์ เช่น ประเทศอังกฤษที่ได้มีการแก้ไขปัญหาการทบทวนการกระทำขององค์กรไทรบูนัลส์ที่มีอำนาจหน้าที่หลายลักษณะ ด้วยการแยกประเภทการกระทำของไทรบูนัลส์ดังกล่าว ออกเป็นการกระทำในทางปกครอง การกระทำกึ่งตุลาการ หรือการกระทำในทางตุลาการ เป็นต้นเช่นเดียวกัน
Other Abstract: Where a state which nowadays called a "modern state" performs more social, economic and political functions. Its structure will thus be more complex so a committee system is formed to serve such expanded functions. Thailand is one of a country using a committee system as evidenced of a large number of administrative committees in which an important one is a group established under more than a hundred of Acts. In performing state duties by these committees, there occurs a distinct question of mixed functions of a single committee which then resulted in the organization; whether personnel, procedure or secretariat, as well as control problems of such committee. It is since a body performs a different function, not only classifying by Organization & Management principle as a policy or an advisory body etc., but also by administrative law theory as a body performs an internal administrative function or a body performs a function relating to an individual, should have its own specific structure, for example, in case a committee provided to perform a judicial function, its organization and control system should be special than that which provided to perform a general administrative function because its decision will directly affect both public interests and individual right. This thesis is aimed to clarify the above mentioned question by proposing a hypothesis that a mixed functions administrative committee should be categorized into a type according to the nature of each function in order to be a basic of the consideration of organization or control system of such committee. The hypothesis is supported by the universal doctrines concerning a classification of function of an administrative body both in the civil laws countries like France and Germany which classifying their juristic acts of administrative body into a kind of "acte" , i.e., "acte administrative" or "acte jurisdictional", and in the common laws countries like England which developing its judicial review principle upon Tribunals by classifying their acts into an "administrative" , "quasi-judicial" or "judicial" act.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62759
ISBN: 9745761087
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriphan_po_front_p.pdf11.2 MBAdobe PDFView/Open
Siriphan_po_ch1_p.pdf8.86 MBAdobe PDFView/Open
Siriphan_po_ch2_p.pdf16.52 MBAdobe PDFView/Open
Siriphan_po_ch3_p.pdf29.94 MBAdobe PDFView/Open
Siriphan_po_ch4_p.pdf21.2 MBAdobe PDFView/Open
Siriphan_po_ch5_p.pdf67.29 MBAdobe PDFView/Open
Siriphan_po_ch6_p.pdf9 MBAdobe PDFView/Open
Siriphan_po_back_p.pdf160.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.