Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6283
Title: | ความชุกของความผิดปกติจากการดื่มสุราและปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ |
Other Titles: | Prevalence of alcohol use disorders and related psychosocial factors among employees of brewery |
Authors: | ศรีสอางค์ แย้มศิริ |
Advisors: | ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | สุรา คนดื่มสุรา จิตวิทยาสังคม ความเครียด (จิตวิทยา) การดื่มสุรา |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของความผิดปกติจากการดื่มสุรา และปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้อง ในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 938 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ 1. แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป 2. แบบวัดความเครียดสวนปรุง (Suanprung Stress Test - 20 ; SPST-20) 3. แบบประเมินความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ (Sensation Seeking Scale ; SSS Form IV) และ 4. แบบสอบถามคัดกรองความผิดปกติจากการดื่มสุรา (The Alcohol Use Disorders Identification Test : AUDIT) สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าสูงสุด, ค่าต่ำสุด, Chi-Square Test, Fisher's Exact Test และ Stepwise Multiple Regression Analysis วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 73 เพศหญิงร้อยละ 27 โดยส่วนมากมีอายุอยู่ในช่วงมากว่า 30 ปี ถึง 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 44.1 โดยมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 33.2+- 7.15 ความชุกของความผิดปกติจากการดื่มสุราในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ คิดเป็นร้อยละ 44.67 ผลการหาความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติจากการดื่มสุรา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ เพศ, ระดับการศึกษา, ระบบการทำงาน, โรคทางจิตเวช, การสูบบุหรี่, ประวัติทางกฎหมาย, ความคิดเห็นต่อการดื่มสุรา เช่น ช่วยในการแก้ปัญหา ช่วยทำให้กล้าแสดงออก ดึงดูดเพศตรงข้าม และความจำเป็นที่ต้องมีในงานสังสรรค์ , พฤติกรรมการเคยดื่มสุรา, คนในครอบครัวที่เคยดื่มสุรา, คนในครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพจิต, สภาพแวดล้อมบริเวณที่พัก เช่น มีสถานที่จำหน่ายสุรา การที่เคยนั่งดื่มและเคยซื้อสุราที่ร้านค้า, การที่เพื่อนสนิทเคยชวนดื่มสุรา, ความรู้สึกสนใจเมื่อพบหรือได้ยินโฆษณาเกี่ยวกับสุรา, การที่โฆษณาเกี่ยวกับสุราทำให้รู้สึกว่าสุราเป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ดื่มได้ตามปกติ ไม่มีโทษต่อร่างกายและจิตใจ และ ความเครียดและความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ภูมิลำเนา, การมีงานอื่นที่ทำนอกจากงานประจำ และ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน เมื่อนำตัวแปรต่างๆมาคัดเลือกโดยการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุขั้นตอนพบว่า ตัวแปรที่ดีที่สุดที่ถูกเลือกเข้ามาโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ เพศ, การสูบบุหรี่, ประวัติทางกฎหมาย, โรคทางจิตเวช, คนในครอบครัวที่เคยมีปัญหาสุขภาพจิต, การใช้บริการนั่งดื่มและซื้อสุราที่ร้านค้าบริเวณที่พักอาศัย, จำนวนเพื่อนสนิทที่ดื่มสุรา, ปริมาณในการดื่มแต่ละครั้ง(ซีซี), ความคิดเห็นว่าตามงานเลี้ยงต้องมีสุรา, ความรู้สึกสนใจเมื่อได้พบเห็นหรือได้ยินโฆษณาเกี่ยวกับสุรา ซึ่งตัวแปรเหล่านี้สามารถอธิบายการเกิดความผิดปกติจากการดื่มสุราได้ประมาณร้อยละ 64.8 และการไปใช้บริการนั่งดื่มสุราที่ร้านค้าบริเวณที่พักอาศัย สามารถอธิบายความผิดปกติจากการดื่มสุราได้มากที่สุด |
Other Abstract: | The objective of this descriptive research is to study the prevalence of alcohol use disorders and related psychosocial factors among employee of brewery. The sample consists of 938 brewery's employee. In this study, the instrument was a set of questionnaires that consisted of 4 parts. Part one, demographic questionnaire was used for collecting subjects' background information. Part two, Suanprung stress Test - 20; SPST 20. Part three, Sensation Seeking Scale; SSS Form IV. Part four, The Alcohol Use Disorders Identification Test : AUDIT. Data was analyzed by SPSS for windows. Statistics utilized consist of Mean, Percentage, Standard Deviation, Maximum, Minimum, Chi-square test, Fisher's Exact Test, and Stepwise Multiple Regression Analysis. The study found that 73% of the subjects are men and 27% are women which 44.1% were between 30 40 years old (mean age are 33.2 +- 7.15). The prevalence of alcohol use disorders among employees of brewery is 44.67%. Correlation analyze revealed that the factors related to alcohol use disorders (p < 0.1) are sex, education level, working system, psychiatric disorders, smoking, legal record, attitudes toward alcohol drinking during a party, the belief that alcohol drinking may help solving problem or attract the opposite sex, alcohol drinking for supporting assertive behavior, alcohol drinking history, alcohol drinking within family, family with mental health problem, alcohol selling around residential area, drinking and purchasing at the shop nearby residential area, closed friend persuade to drinking alcohol, advertisement influences the need to drink alcohol, the present of alcohol in advertisement makes people think that alcohol is a normal behavior in society and that alcoholic drink has no effect on both physical and mental health, stress, and sensation seeking. For the factors that related to alcohol use disorders p < 0.5 are domicile, extra work, and relationship with colleagues. By using Stepwise Multiple Regression Analysis, the most salient factors at p < .05 which can be predictive variable for approximately 64.8% (R[superscript 2] = .648) sex, smoking, legal record, psychiatric disorders, family with mental health problem, drinking and purchasing at the shop nearby residential area, close friends with alcohol drinking, drinking volume at a time (cc.), attitudes toward alcohol drinking during a party and advertisement influences the need to drink alcohol. The best factor that can predict alcohol use disorders are drinking at the shop nearby residential area. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6283 |
ISBN: | 9741746105 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Srisa-ang.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.