Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62987
Title: ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมในการรับชมโฆษณาวิดีโอทางยูทูบ          
Other Titles: Factors Predicting Youtube Ad Viewing
Authors: กนกภา กรีประเสริฐกุล
Advisors: สมิทธิ์ บุญชุติมา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract:  งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมในการรับชมโฆษณาวิดีโอทางยูทูบ โดยทำการศึกษาจาก 6 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยด้านความเกี่ยวข้อง ปัจจัยด้านความบันเทิง ปัจจัยด้านความคิดสร้างสรรค์ ปัจจัยด้านการให้ข้อมูล ปัจจัยด้านความมีประโยชน์ ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือ ที่พบว่ามีความสัมพันธ์ในเชิงบวกต่อทัศนคติและพฤติกรรมการรับชมโฆษณาวิดีโอทางยูทูบ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจด้วยวิธีการเก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 400 ชุด กับกลุ่มตัวอย่างที่เกิดในปีพ.ศ.2524 – พ.ศ.2543 มีอายุระหว่าง 19 - 38 ปี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการถดถอยเชิงพหุคูณ (multiple regression analysis) แบบการเลือกตัวแปรโดยวิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (stepwise regression) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีทัศนคติในเชิงลบต่อการรับชมโฆษณาวิดีโอทางยูทูบ โดยมักจะหลีกเลี่ยงการรับชมโฆษณา จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่าสมการพยากรณ์พฤติกรรมการรับชมโฆษณาวิดีโอทางยูทูบที่ดีที่สุดคือ  "พฤติกรรมการรับชมโฆษณาวิดีโอทางยูทูบ = 1.316+(.353)ปัจจัยด้านการให้ข้อมูล"   โดยสามารถพยากรณ์พฤติกรรมการรับชมโฆษณาวิดีโอทางยูทูบได้ร้อยละ 18.8 ทั้งนี้ปัจจัยด้านการให้ข้อมูล สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการรับชมโฆษณาวิดีโอทางยูทูบได้ อาจเป็นเพราะผู้ชมที่ชอบการรับข้อมูลจากโฆษณาจะยอมเปิดรับโฆษณาที่มีการให้ข้อมูล ขณะที่ผู้ชมที่ไม่ชอบการรับข้อมูลจากโฆษณาหรือผู้ชมที่ชอบแสวงหาข้อมูลจากแหล่งอื่นจะมีแนวโน้มหลีกเลี่ยงโฆษณา
Other Abstract: This research is aimed to study six factors predicting Youtube Ads Viewing, which correlate to positive attitude and behavior on Youtube Ads in sample group at the age of 19 to 38 years old (born in 1981 – 2000) by 400 questionnaires. Then, the data is analysed by using multiple regression analysis (stepwise regression) According to this study, participants have a negative attitude on Youtube Ads and they avoid watching the ads. At the R2 of 18.8%, the behavior of Youbube Ads viewing is equated by Behavior of YouTube Ads = 1.316+(.353)Informativeness Although the equation is characterized by six factors, the informativeness is the most significant factor for behavior prediction. This parameter holds the most importance because it is concise and comprehensive for viewer to acquire the information in short period of time.  Moreover, it is recommended to conduct further experimental research of these six factors to investigate viewer behaviors in details.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62987
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.826
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.826
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6084851228.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.