Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63105
Title: การมุ่งสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเกาะคา เทศบาลเมืองกระบี่ และเทศบาลนครขอนแก่น
Other Titles: Toward learning organization : case studies of Koh-Ka Subdistrict Municipality, Krabi Town Municipality, and Khon Khan City Municipality
Authors: สุภะรัฐ ยอดระบำ
Advisors: ปกรณ์ ศิริประกอบ
ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: การเรียนรู้องค์การ -- ไทย
การบริหารองค์ความรู้
เทศบาล -- ไทย
Organizational learning -- Thailand
Knowledge management
Municipal government -- Thailand
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาล ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาล และพัฒนาข้อเสนอในการส่งเสริมการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาลโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาเทศบาลซึ่งเป็นกรณีศึกษา 3 แห่งที่ได้รับรางวัล หรือเกียรติคุณต่างๆ ซึ่งในการประเมินมีเกณฑ์และตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาลนั้นๆ และเป็นหลักประกันถึงความเป็นเทศบาลแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เทศบาลเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ และเทศบาลตำบลเกาะคา จังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ได้แก่ 1.นายกเทศมนตรี 2.ปลัดเทศบาล 3.พนักงานเทศบาล และ 4.สมาชิกสภาเทศบาลของเทศบาลที่เป็นกรณีศึกษา ผลการวิจัยพบลักษณะร่วมจากเทศบาลทั้ง 3 แห่งซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีที่นำมาศึกษาว่า 1. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาล ประกอบด้วย คุณลักษณะองค์การที่มีการเรียนรู้เกิดขึ้นใน 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับบุคคล (ความมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง วิธีคิดที่เปิดกว้าง ความคิดเชิงระบบ และความคิดสร้างสรรค์) 2) ระดับกลุ่ม (การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแบ่งปันความรู้ การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม) และ 3) ระดับองค์การ (การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การยึดคนเป็นศูนย์กลาง การสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ การเรียนรู้จากประสบการณ์ และการคาดการณ์ล่วงหน้า) โดยเทศบาลแต่ละแห่งจะมีคุณลักษณะประการสำคัญที่โดดเด่นในระดับต่างๆที่แตกต่างกัน 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาล ประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ และประชาชนในท้องถิ่น และ 2) ปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่ ผู้นำ ยุทธศาสตร์ขององค์การ โครงสร้างองค์การ ทัศนคติและพฤติกรรมของบุคลากร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสื่อสารภายในองค์การ บรรยากาศในองค์การ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในหน่วยงาน และการจัดการความรู้ โดยเทศบาลแต่ละแห่งจะมีอันดับการรับรู้ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
Other Abstract: This research aims to study the learning organization in Thai municipalities, the factors influencing a learning organization in the municipalities and to develop guidelines to establish a learning organization for Thai municipalities. This study used the qualitative research methods. Three selected municipalities as case studies are Khon Kaen City Municipality, Krabi Town Municipality, and Ko Kha Subdistrict Municipality, Lampang. The research instruments were semi-structured interview guidelines and participant observation indicators. For key informants, the researcher interviewed three municipalities’ Mayors, officers including clerks and staff, and members of the Municipality Council from each municipality. This research found common characteristics of learning organizations in accordance with theories from three Thai municipalities as follows: 1. In becoming a learning organization of each municipality, the following characteristics of organizations are crucial and the learning processes must occur in 3 levels: 1) Personal level (self-development commitment, open-mindedness, system thinking, and creativity) 2) Group level (exchanging of ideas, knowledge sharing, learning together as a team, and creating a shared- vision) and 3) Organizational level (continuous learning, people-centric, knowledge creating, learning from experience, and forward-looking). Each municipality has important characteristics in different levels. 2. Factors influencing the learning organization of each municipality consist of 1) external factors including politics, law, economy, society, culture, technology, natural resources and local people; 2) organizational factors including leadership, organization strategy, organizational structure, individual attitudes and behaviors, human resource development, internal communication, atmosphere in the organization, the application of technology in the organization and knowledge management. Each municipality has a different perception of factors influencing the learning organization.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: รัฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63105
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1075
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1075
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5681364724.pdf4.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.