Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63314
Title: | การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล |
Other Titles: | Proposed Risk Management Strategies In Educational Quality Of Schools Under The Legal Entity Model Management Development Program |
Authors: | พีรภัทร ฝอยทอง |
Advisors: | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ เพ็ญวรา ชูประวัติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ คือ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของการบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล และ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล จำนวน 89 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระและครูผู้สอน จำนวนรวมทั้งสิ้น 177 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นได้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และ PNI modified ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของการบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล ประกอบด้วย กระบวนบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรมี 5 ขั้นตอน คือ (1) การกำหนดวัตถุประสงค์ (2) การระบุความเสี่ยง (3) การประเมินความเสี่ยง (4) การจัดการความเสี่ยง และ(5) การรายงานและติดตามผล และแนวคิดเรื่องคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย (1) ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน และ (2) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยของสภาพที่พึงประสงค์สูงกว่าสภาพปัจจุบันทุกด้าน โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ การจัดการความเสี่ยง ด้านที่มีค่าความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ การระบุความเสี่ยง รองลงมา คือ การรายงานและติดตามผล การประเมินความเสี่ยง การกำหนดวัตถุประสงค์ และการระบุความเสี่ยง ตามลำดับ และปัจจัยภายนอกที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ ปัจจัยทางเทคโนโลยี รองลงมา คือ ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางนโยบายและการเมือง และปัจจัยทางเศรษฐกิจ ตามลำดับ 3) กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ (1) กลยุทธ์ปฏิรูประบบการบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษา (2) กลยุทธ์พัฒนามาตรฐานการจัดการความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษา (3) กลยุทธ์ผลักดันการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการรายงานและติดตามผลการจัดการความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษา และ (4) กลยุทธ์สร้างภาคีเครือข่ายร่วมระบุความเสี่ยงด้านคุณภาพการศึกษา |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to study the framework of the risk management in educational quality of schools under the legal entity model management development program; 2) to study the current state and the desirable state of the risk management in educational quality of schools under the legal entity model management development program; and 3) to develop the risk management strategies in education quality of schools under the legal entity model management development program. This study was conducted, using mixed method approach. The sampling group for the study comprised 177 people from 89 schools of the schools under the legal entity model management development program. Questionnaire, feasibility and appropriateness evaluation form, descriptive statistics and a Modified Priority Needs Index (PNI modified) were applied as the research instruments. The results demonstrated that: 1) The conceptual framework were 5 steps of enterprise risk management (ERM) process comprising: (1) objective setting; (2) risk identification; (3) risk assessment; (4) risk response; and (5) reporting and monitoring, and the educational quality in accordance with the student quality standard for basic education was composed of (1) academic achievement and (2) desirable characteristics; 2) the average figure of the desirable stage of the risk management was higher than the current state in all aspects. The risk management process in educational quality showed the highest needs was risk response followed by reporting and monitoring, risk assessment, objective setting and risk identification. The external factor showed the highest needs was technological factors; and 3) The four main risk management strategies were: (1) reforming the risk management system; (2) developing the standard of risk responses in educational quality; (3) enhancing report and monitor risk management in educational quality by the information and technology system; and (4) creating the networking partners to identify risks in educational quality. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63314 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.537 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.537 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5484262727.pdf | 5.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.