Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63439
Title: ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการผิดปรกติของกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในอาชีพนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Prevalence and related factors of musculoskeletal discomfort among broker officers in bangkok
Authors: เธียริศรา วงษ์ศิริสถาวร
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
อานนท์ วรยิ่งยง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในอาชีพนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ กรุงเทพมหานคร วิธีการวิจัย เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional descriptive study) กลุ่มตัวอย่างคือ นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ 393 คน การรวบรวมข้อมูลใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามชนิดผู้ให้ ข้อมูลกรอกเอง ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับ ปัจจัยด้านบุคคล (Non-occupational factors)  ปัจจัยด้านการทำงาน (Occupational factors)  ปัจจัยด้านท่าทางการทำงาน (Ergonomic factors) แบบสอบถามเกี่ยวกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ซึ่งดัดแปลงจาก แบบสอบถามนอร์ดิก (Nordic Musculoskeletal Questionnaire) และแบบสอบถาม the DASH score ผล ความชุกของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ในกลุ่มตัวอย่างอาชีพนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ในช่วง 7 วัน  ในช่วง 12 เดือน อาการกระทบต่อกิจวัตรประจำวันในช่วง 12 เดือน  และต้องลาหยุดงานเนื่องจากอาการในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาคือ ร้อยละ 78.40, 82.20, 35.90 และ 20.40 ตามลำดับ อวัยวะที่มีความชุกสูงสุด คือ คอ ถัดมาคือ ไหล่ หลังส่วนบนและหลังส่วนล่าง การวิเคราะห์โดย Multiple logistic regression วิธี Backward LR ที่สัมพันธ์กับ MSD ในช่วง 12 เดือน พบว่าผู้ที่มีโรคประจำตัวมีอาการ MSD เพิ่มเป็น 10.74 เท่า (p=0.022) โดยเป็นโรคภูมิแพ้มากที่สุด และผู้ที่นั่งเก้าอี้มีพนักพิงเพิ่มเป็น 4.54 เท่า (p<0.001) ปัจจัยป้องกันพบผู้ที่แก้ไขอาการปวดเมื่อยด้วยวิธีนวด/ประคบแผนไทยพบอาการ MSD ลดลงร้อยละ 50 (p=0.017) เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้แก้ไขอาการปวดด้วยวิธีนี้ และผู้ที่ไม่มีการงอหรือกระดกข้อมือพบอาการ MSD ลดลงร้อยละ 52 (p=0.033) สรุป อาชีพนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์มีความชุกของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างค่อนข้างสูง 
Other Abstract: Objective This study aimed to determine the prevalence and related factors of musculoskeletal discomfort among broker officers in Bangkok. Method The study design was a cross-sectional descriptive study. 393 Thai-broker officers in Bangkok were included in this study. The subjects were asked to complete questionnaires concerning non-occupational factors, occupational factors and ergonomic factors. The symptom survey was modified from Nordic Musculoskeletal Questionnaire and the DASH score. Result The prevalence of overall MSD (discomfort in at least one part of the body) in Thai-broker officers; the last 7 days, the last 12 months, the last 12 months with daily activities affected and the last 12 months with sick leaves were 78.40%, 82.20%, 35.90% and 20.40%, respectively. The highest prevalence among the body parts was neck, shoulder, upper back and lower back, respectively. Using multiple logistic regression models adjusted for covariates in the last 12 months of overall MSD, we found significantly increased 10.74 folds (p=0.022) in those with underlying diseases (the most common is allergy), increased 4.54 folds (p<0.001) in those with chair with backrest, decreased 50% (p=0.017) in those pain treatment with Thai massage, and decreased 52% (p=0.033) in those not bending or tilting the wrist. Conclusion The MSD was rather highly prevalent in all body parts of broker officers.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63439
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.694
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.694
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074064030.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.