Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6386
Title: การขับเคลื่อนมอเตอร์ซิงโครนัสแม่เหล็กถาวรไร้เซนเซอร์วัดตำแหน่งแบบใหม่ โดยอิงแบบจำลองเชิงเส้น
Other Titles: A novel position-sensorless permanent magnet synchronous motor drive based on a linear model
Authors: สาคร โพธิ์งาม
Advisors: สมบูรณ์ แสงวงค์วาณิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: มอเตอร์แม่เหล็กถาวร
มอเตอร์ซิงโครนัส
แบบจำลองเชิงเส้น
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากแบบจำลองทางพลวัติของมอเตอร์ซิงโครนัสแม่เหล็กถาวร ที่ใช้กันโดยทั่วไปมีความไม่เชิงเส้นจึงทำให้เกิดปัญหา ในการสร้างระบบขับเคลื่อนมอเตอร์ซิงโครนัส แม่เหล็กถาวรไร้เซนเซอร์วัดตำแหน่ง ดังนั้นจุดมุ่งหมายหลักของวิทยานิพนธ์นี้คือ การนำเสนอแบบจำลองทางพลวัติของมอเตอร์ซิงโครนัสแม่เหล็กถาวรแบบใหม่ ที่มีลักษณะเป็นเชิงเส้นและสร้างระบบขับเคลื่อนมอเตอร์ซิงโครนัสแม่เหล็กถาวรไร้เซนเซอร์ วัดตำแหน่งรูปแบบใหม่โดยใช้ตัวสังเกตเต็มอันดับแบบปรับตัว ในการประมาณค่าตำแหน่งโรเตอร์ เนื่องจากระบบที่นำเสนอเป็นแบบเชิงเส้นจึงง่ายต่อการวิเคราะห์เสถียรภาพ และการออกแบบอัตราขยายป้อนกลับของตัวสังเกต นอกจากนั้นผู้วิจัยได้นำเสนอการควบคุมเวกเตอร์แบบแยกการเชื่อมร่วม ซึ่งเมื่อบูรณาการตัวสังเกตเต็มอันดับแบบปรับตัวเข้ากับการควบคุมเวกเตอร์ จะทำให้ลดความซ้ำซ้อนของแบบจำลองลงได้ ในการวิเคราะห์เสถียรภาพและสมรรถนะของระบบประมาณนั้น ผู้วิจัยได้ใช้วิธีเชิงพารามิเตอร์ในการวิเคราะห์ โดยจะแปลงระบบประมาณไปอ้างอิงบนแกนหมุนของฟลักซ์ประมาณ ทำให้ได้บล็อกไดอะแกรมในการวิเคราะห์เสถียรภาพของระบบประมาณ เป็นลักษณะเข้าเดี่ยวออกเดี่ยว ซึ่งสามารถใช้ Routh-Hurwitz Criterion ในการหาเงื่อนไขการมีเสถียรภาพของระบบประมาณได้โดยง่าย ผลการจำลองการทำงานและผลการทดลองยืนยันความถูกต้อง ของผลทางทฤษฎีทั้งหมดที่พัฒนาขึ้น
Other Abstract: Since the conventional dynamic model of the permanent magnet synchronous motor (PMSM) is nonlinear, it causes problems in the development of position-sensorless PMSM drives. The main objective of this thesis is, therefore, to introduce a novel linear dynamic model for the PMSM based on which an adaptive full-order observer for position estimation is proposed. Owing to the linearity of the new model, the stability analysis the feedback gain design of the observer become simple. In addition, the author also develops a decoupling vector control for the PMSM and integrates it with the adaptive observer to eliminate the model redundancy and thus reduce the complexity of the controller. A parametric approach is adopted in the analysis of the stability and tracking performance of the adaptive observer by transforming the estimation system onto the estimated flux reference frame and making it a single-input-single-output system which can be analyzed by the Routh-Hurwitz criterion. The validity of all the theoretical results is verified by simulation and experiments.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6386
ISBN: 9741735839
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakorn.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.