Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64066
Title: | ปัญหาการกำหนดให้นิติบุคคลอาคารชุดเป็นนิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีมีเงินได้นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ 2522 |
Authors: | ภิรมยา ลิมป์ศุภวาณิช |
Advisors: | วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การจัดเก็บภาษี ภาษีเงินได้ อาคารชุด |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ธุรกิจอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมถือว่าเป็นธุรกิจที่เติบโตมากในปัจจุบัน และเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับบุคคลที่ต้องการจะมีอสังหาริมรัพย์เป็นของตนเอง โดยราคานั้นมีระดับต่ำไปจนถึงระดับสูง เมื่อมีอาคารชุดแล้วก็จะต้องมีบุคคลที่มาทำหน้าที่ในการดูแลและบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 โดยกำหนดให้จัดตั้งนิติบุคคลอาคารชุดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 เพื่อให้สามารถจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง เช่น ลิฟต์ สระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย และสวนหย่อมให้คงสภาพที่ดี โดยนิติบุคคลอาคารชุดเปรียบเสมือนตัวแทนของเจ้าของร่วมหรือเจ้าของห้องชุดที่จะทำหน้าที่เหล่านี้ เมื่อเจ้าของร่วม มีการเข้ามาอยู่อาศัยอาคารชุดแล้ว จะต้องมีการเรียกเก็บเงินส่วนกลางเอาไว้ใช้บำรุงรักษาและบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดที่เจ้าของร่วมใช้อยู่เป็นประจำ ดังนั้นนิติบุคคลอาคารชุดจะเป็นผู้เรียกเก็บเงินส่วนกลางในทุก ๆ เดือนจากเจ้าของร่วมเพื่อนำมาใช้จ่ายต่าง ๆ ในอาคารชุด อย่างไรก็ตาม นิติบุคคลอาคารชุดนั้นเมื่อมีอำนาจในการที่ดูแลรักษาและบริหารจัดการ อาคารชุดตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 เงินส่วนกลาง ที่เรียกเก็บจากเจ้าของร่วมถือว่ามิใช่การแสวงหากำไรแต่อย่างใด จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลให้แก่รัฐ และนิติบุคคลอาคารชุดไม่เข้านิยามการเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร แต่เนื่องจากนิติบุคคลอาคารชุดมีการแสวงหากำไรที่กระทำนอกเหนือจากที่วัตถุประสงค์กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 คือ มีเงินได้อื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากการเก็บเงินค่าส่วนกลางของอาคารชุด เช่น ค่าเช่ารับ ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลรับ เป็นต้น ถือว่านิติบุคคลอาคารชุดไม่ได้กระทำตามวัตถุประสงค์ที่ได้มีการกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 จึงไม่ควรให้นิติบุคคลอาคารชุดไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทำให้เกิด ความไม่เสมอภาคกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีเงินได้อื่น ๆ เกิดขึ้นแต่จะต้องถูกนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อย่างไรก็ตามนิติบุคคลอาคารชุดไม่ต้องนำเงินได้อื่นมาคำนวณ เสียภาษีให้แก่รัฐ เนื่องจากถูกกำหนดให้ไม่เข้าคำนิยามของคำว่า “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรอาจทำให้นิติบุคคลหรือบุคคลทั่วไปนั้นเข้ามาเป็นนิติบุคคลอาคารชุดมากขึ้นเพื่อที่จะสามารถนำเงินมาลงทุนผ่านนิติบุคคลอาคารชุดแล้วนำเงินไปลงทุนเพื่อให้เกิดเงินได้อื่น ๆ และไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลถือว่าเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีมากขึ้นและทำให้รัฐขาดรายได้จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากนิติบุคคลอาคารชุด |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64066 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.34 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2018.34 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6086218434.pdf | 1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.