Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64272
Title: การวิเคราะห์พาราเบนในเครื่องสำอางโดยการสกัดระดับจุลภาคด้วยวัฏภาคของแข็งร่วมกับเทคนิคไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโทกราฟี
Other Titles: Determination of parabens in cosmetics by solid phase microextraction combined with high performance liquid chromatography
Authors: ฐิติมา วงษ์จำปี
Advisors: พุทธรักษา วรานุศุภากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พาราเบนเป็นกลุ่มสารที่นิยมใช้เป็นสารกันเสียในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เพื่อช่วยยับยั้งการเจริญเติบโต ของเชื้อราและแบคทีเรีย อย่างไรก็ตามการใช้สารกลุ่มนี้ในปริมาณมากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้พัฒนาวิธีวิเคราะห์พาราเบน 4 ชนิด ได้แก่ เมทิลพาราเบน เอทิลพาราเบน โพรพิลพาราเบน และบิวทิลพาราเบนในเครื่องสำอาง โดยการสกัดระดับจุลภาคด้วยวัฏภาคของแข็ง และนำไปวิเคราะห์ด้วย เทคนิคไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโทกราฟี ซึ่งพบว่าการสกัดด้วยการสกัดระดับจุลภาคด้วยวัฏภาค ของแข็งแบบโดยตรงให้ประสิทธิภาพการสกัดสูงกว่าการสกัดระดับจุลภาคด้วยวัฏภาคของแข็งแบบเฮดสเปซ จึงทำการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการสกัดด้วยระดับจุลภาคด้วยวัฏภาคของแข็งแบบโดยตรง ได้ภาวะ ของการสกัด ดังนี้ อุณหภูมิการสกัด 50 องศาเซลเซียส เวลาในการสกัด 30 นาที ใช้เมทานอลเป็นตัวทำ ละลายในการคายซับเป็นเวลา 30 นาที นอกจากนี้ มีการเตรียมตัวอย่างโลชั่นบำรุงผิวก่อนการสกัดระดับ จุลภาคด้วยวัฏภาคของแข็งแบบโดยตรง โดยการเจือจางด้วยเมทานอล คนแบบวอร์เท็กซ์และปั่นเหวี่ยง วิธีที่ พัฒนาได้มีประสิทธิภาพการสกัดที่ดี โดยมีค่าร้อยละการคืนกลับของการวิเคราะห์ร้อยละ 68 ถึงร้อยละ 115
Other Abstract: Parabens are widely used as preservatives in cosmetic products in order to prevent the growth of mold and bacteria. However, excessive usage can affect consumer’s health. Therefore, this work developed a method for determining 4 parabens which are methyl paraben, ethyl paraben, propyl paraben and butyl paraben in a commercial cosmetic product by using solid phase microextraction (SPME) combined with high performance liquid chromatography (HPLC). As a result, direct immersion solid phase microextraction (DI-SPME) exhibited higher extraction of parabens compared with headspace solid phase microextraction (HS-SPME). Therefore, the condition in DI-SPME was optimized to improve the extraction efficiency. The optimal condition was extraction temperature of 50 °C, extraction time of 30 minutes, methanol as desorption solvent, desorption time of 30 minutes. Moreover, body lotion sample was pretreated by diluting with methanol, then vortexed and centrifuged before extracted by DI-SPME. The developed method showed good extraction efficiency with the recovery range of 68–115%.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64272
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thitima_W_Se_2561.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.