Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64383
Title: ปัญหาวิธีพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
Other Titles: Procedural problems of the Information Disclosure Tribunal
Authors: กาญจนา โนนทนวงศ์
Advisors: เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ข้อมูลข่าวสารของราชการ
Government information
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับวิธีพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งที่เป็นปัญหาในทางวิชาการและปัญหาในทางปฏิบัติโดยเทียบเคียงกับวิธีพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทในต่างประเทศ ผ ลการวิจัยพบว่าปัญหาสำคัญของวิธีพิจารณาได้แก่ปัญหาในเรื่องของการทบทวนคำวินิจฉัยโดยคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นเอง เนื่องจากกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องไม่ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวเอาไว้ก่อให้เกิดความสับสนในการบังคับใช้กฎหมายทั้งที่เกิดจากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและคำพิพากษาของศาลฎีกา ที่มีการตีความไม่สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่กำหนดในกฎหมาย ซึ่งมีลักษณะเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในทางตุลาการ นอกจากนี้ในวิธีพิจารณาของคณะกรรม การวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารยังขาดการถ่วงดุลอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดและกำหนดหลักเกณฑ์การให้เหตุผลในคำวินิจฉัยน้อยจนเกินไป อีกทั้งยังขาดความครบถ้วนสมบูรณ์เกี่ยวกับหลักการสำคัญ ๆ อยู่หลายประการ อาทิ หลักการคัดค้านโต้แย้งและแสดงเหตุผล หลักความ เป็นกลางของผู้วินิจฉัย ส่งผล กระทบต่อความน่าเชื่อถือของคำวินิจฉัยและทำให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่ควร ดังนั้น ควรแก้ไขปรับปรุงวิธีพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายโดยการกำหนดหลักเกณฑ์ในการทบทวนคำวินิจฉัยของตนเองให้มีความชัดเจน และสร้างกลไกในการถ่วงดุลอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดโดยการนำเอา “ระบบการวินิจฉัยชี้ขาดแบบ สองชั้น ” มาปรับใช้ ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมหลักการสำคัญ ๆ อันเป็น “หัวใจ” ของวิธีพิจารณาไว้อย่างครบถ้วน จะทำให้คำวินิจฉัยมีมาตรฐาน สูงขึ้นและได้รับการยอมรับจากคู่กรณีและประชาชนโดยทั่วไปอีกทั้งยังเป็นการสร้างกลไกควบ คุมมิให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ตามอำเภอใจ และเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เกิดผลได้อย่างแท้จริงนั้นเอง
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study the procedural problems of the Information Disclosure Tribunal both in academic aspect and in practice. The study is carried out by making a comparative study on procedure of tribunals in some other countries. The result of the study manifests that the most important problem is those regarding the review procedure of the Information Disclosure Tribunal. The problem arises from the lack of procedural provisions concerned at both statutory and subordinated legislation levels. The confusion in applying law occurred in the making of decision of the Tribunal itself and in the judgement of courts. It is found in some Supreme Court judgements that the Court has applied law inconsistent with the power and duty of the Tribunal as a quasi-judicial body. Another problems are the lack of balance in making decision of the Tribunal and the lack of a compulsory provision in giving reason to the decision. Besides, such important procedural principles as the challenge of tribunal members and the impartiality are still not clearly specified in the relevant Act. These may cause the people feel that their rights and freedom are not well protected as it should be. The procedure of the Information Disclosure Tribunal should, therefore, be revised so as to be consistent with the function of the Tribunal as a quasi-judicial body by making clear to the review procedure thereof. The two-tier decision should be introduced as the balance mechanism in decision making process. Certain key procedural principles should be added in the relevant provisions. The author hopes that it would improve the standard of decision of the Tribunal so that it would be more acceptable by the parties concerned and the public. Moreover, it would be a measure to prevent the arbitration of the Tribunal, which shall be the effective measure to protect rights and liberties of the people.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64383
ISBN: 9740312942
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanchana_no_front_p.pdf897.46 kBAdobe PDFView/Open
Kanchana_no_ch1_p.pdf758.88 kBAdobe PDFView/Open
Kanchana_no_ch2_p.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Kanchana_no_ch3_p.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open
Kanchana_no_ch4_p.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open
Kanchana_no_ch5_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Kanchana_no_back_p.pdf859.48 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.