Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64389
Title: | ความคิดเห็นของครูศิลปศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอน วิชาศิลปศึกษาตามทฤษฎี DBAE ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Opinions of art teachers concerning art learning and teaching activities in accordance with DBAE theory in the Lower Secondary School Curriculum B.E. 2521 (revised edition B.E. 2533) in schools under the Department of General Education, Bangkok Metropolis |
Authors: | คนึงหา สุภานันท์ |
Advisors: | อำไพ ตีรณสาร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ศิลปกรรม -- หลักสูตร ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) ครูศิลปศึกษา Art -- Curricula Art -- Study and teaching (Secondary) Art teachers |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูศิลปศึกษา เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาศิลปศึกษาตามทฤษฎี DBAE ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) กลุ่มตัวอย่างประชากร คือ ครูผู้สอนศิลปศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่สอนวิชาบังคับแกนศิลปศึกษา (สาขาทัศนศิลป์) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนรัฐบาล สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดเลือกตอบ แบบประเมินค่าและแบบปลายเปิดซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ครูศิลปศึกษามีความคิดเห็นโดยภาพรวมเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาศิลปศึกษา ตามทฤษฎี DBAE ในระดับเห็นด้วย และเมื่อพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาศิลปศึกษาจำแนกตามแกนความรู้ ตามทฤษฎี DBAEพบว่า ครูศิลปศึกษามีความคิดเห็นในแกน ความรู้ต่างๆ ตามลำดับดังนี้ แกนความรู้ที่ครูศิลปศึกษาแสดงความเห็นในระดับสูงสุดคือ แกนความรู้ด้านศิลปะปฏิบัติ( X ̅ = 4.29) รองลงมาคือแกนความรู้ด้านประวัติศาสตร์ศิลป์( X ̅ = 4.24) แกนความรู้ด้านสุนทรียศาสตร์ ( X ̅ = 4.21) และแกนความรู้ที่ครูศิลปศึกษาแสดงความคิดเห็นในระดับตํ่าสุดคือในแกนความรู้ด้านศิลปวิจารณ์ ( X ̅ = 4.16) ตามลำดับ |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study opinions of art teachers concerning art learning and teaching activities in accordance with DBAE theory in the lower secondary school curriculum B.E.2521 (revised edition B.E. 2533). The sample of the population included 226 lower secondary art teachers teaching visual art in the lower secondary schools under the Department of General Education, Bangkok Metropolis. The research instrument was a set of questionnaire constructed by the researcher which consisted of checklist, rating scale and open-ended forms. The data were analyzed by using percentage, means and standard deviation. Research result indicated the opinions of teachers concerning art learning and teaching activities in accordance with DBAE theory in the four disciplines. The teachers expressed their opinions as follows: the discipline of Art Production was rated highest ( X ̅ = 4.29) ; the discipline of Art History ( X ̅ = 4.24 ) ; the discipline of Aesthetic ( X ̅ = 4.21 ); and the discipline of Art Criticism ( X ̅ = 4.16 ) respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64389 |
ISBN: | 9741708122 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanuengha_su_front_p.pdf | 820.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanuengha_su_ch1_p.pdf | 878.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanuengha_su_ch2_p.pdf | 3.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanuengha_su_ch3_p.pdf | 714.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanuengha_su_ch4_p.pdf | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanuengha_su_ch5_p.pdf | 998.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanuengha_su_back_p.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.