Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64452
Title: | กระบวนการรำและกลวิธีการแสดงบททศกัณฐ์ในการแสดงโขน ตอน นางลอย ของครูจตุพร รัตนวราหะ |
Other Titles: | Style and techniques of Totsakan's dance in Nangloi episode of Kru Jatuporn Rattanavaraha |
Authors: | พหลยุทธ กนิษฐบุตร |
Advisors: | มาลินี อาชายุทธการ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | จตุพร รัตนวราหะ, 2479- การรำ -- ไทย โขน นาฏศิลป์ไทย Jatuporn Rattanavaraha, 2479- Dance -- Thailand Khon (Dance drama) Dramatic arts, Thai |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาประวัติและผลงาน รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการรำและกลวิธีการแสดงบททศกัณฐ์ในการแสดงโขน ตอน นางลอย ของครูจตุพร รัตนวราหะ ระเบียบวิธีวิจัยในการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ศิลปินอาวุโสผู้ทรงคุณวุฒิ การสังเกตการสอน และการแสดงโขน ตอน นางลอย ตลอดจนรับถ่ายทอดท่ารำและกลวิธีการแสดงตัวต่อตัวจากครูจตุพร รัตนวราหะ ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการรำของทศกัณฐ์ตอนนางลอยมี 3 บทบาท คือ 1. บทนั่งเมือง 2. บทเกี้ยวนางสีดาแปลง 3. บทเขินอาย ซึ่งในแต่ละเพลงนอกจากจะมีท่ารำมาตรฐานแล้ว ยังมีท่ารำทำบทที่สอดแทรกท่าทางเลียนแบบอากัปกิริยาของมนุษย์ และยังได้พบกลวิธีที่ใช้ในการแสดงที่เป็นลักษณะเฉพาะของครูจตุพร รัตนวราหะ ได้แก่ ท่าเหลียว ท่ากล่อมหน้า ท่าเอียงศีรษะ ท่ากล่อมไหล่ ท่าตีไหล่ ท่าพิศมัยเรียงหมอน ท่าจีบ ท่าเอนลำตัว การใช้เกลียวข้าง การตั้งเหลี่ยม และการประเท้า ตลอดจนวิธีการปฏิบัติท่ารำประกอบจังหวะที่หมดก่อนจังหวะและหลังจังหวะรวมถึงวิธีการปฏิบัติท่ารำทำบทที่ตีบททุกคำพากย์และตีบทรวมคำพากย์ งานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นตำราทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ต่อครู ศิลปิน และบุคลากรทางด้านนาฏยศิลป์ไทย เพื่อเป็นแนวทางในด้านการแสดงและการศึกษาต่อไป |
Other Abstract: | This research aims at studying autobiography and performances of Jatupom Rattanavaraha including analysis of dance patterns and techniques of Totsakan in Khon performances of Ramayana Nangloi episode. Research methodology is based upon related documents, interviewing senior artists and dance experts, observing teaching and performances of this episode. And learning directly from Mr. Jatupom Rattanavaraha. The research finds that dance of Totsakan in Nangloi episode can be devided into three different parts (1) Audience Scene, (2) Wooing Scene, (3) Embarrassment Scene. Each scene requires basic demon’s dance patterns intermixing with natural movements. More importantly, it is found that Jatupom Rattanavaraha adds his own interpretation and delicate movements into the main dance patterns which were found in the head, shoulder, body, arm and hand movements. He also elaborates dance punctuality and interpretation beyond regular practice. The thesis can be developed into a dance text book to guide the performances of Nangloi in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นาฏยศิลป์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64452 |
ISSN: | 9741724977 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phaholyuth_ka_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Phaholyuth_ka_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 758.17 kB | Adobe PDF | View/Open |
Phaholyuth_ka_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 5.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Phaholyuth_ka_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 3.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Phaholyuth_ka_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 13.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Phaholyuth_ka_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Phaholyuth_ka_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.