Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64485
Title: การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาและการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ในสถานรับเลี้ยงเด็กของกระทรวงกลาโหม
Other Titles: A study of state and problems of organizing educare for young children in child care centers under the Ministry of Defence
Authors: วรรณพร กาญจนาภา
Advisors: จีระพันธุ์ พูลพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: สถานเลี้ยงเด็ก
การศึกษาปฐมวัย
กระทรวงกลาโหม
Day care centers
Early childhood education
Ministry of Defence
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาและการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในสถานรับเลี้ยงเด็กของกระทรวงกลาโหม ด้านสภาพแวดล้อม ด้านการบริหารและการนิเทศการสอน ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนด้านบุคลากรทางการศึกษาปฐมวัย ด้านบริการที่จัดให้เด็ก และด้านความสัมพันธ์ระหว่างสถานรับเลี้ยงเด็กกับครอบครัวและชุมชน ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร 119 คน บุคลากรทางการศึกษาปฐมวัย 119 คน และผู้ปกครอง 119 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า สภาพแวดล้อมภายนอกอาคารเรียนจัดให้มีสนามและเครื่องเล่นสำหรับเด็ก อาคารเรียนเป็นอาคารชั้นเดียว ภายในห้องเรียนให้บุคลากรในแต่ละห้องจัดตกต่างเอง สถานรับเลี้ยงเด็กจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการของข้าราชการทหารภายในหน่วยงาน มีการบริหารงานตามนโยบายของหน่วยงานสวัสดิการกองทัพ และดำเนินงานโดยคณะกรรมการบริหารและผู้บริหาร งบประมาณในการดำเนินงานได้มาจากค่าธรรมเนียมที่เก็บจากผู้ปกครอง การนิเทศการสอนบุคลากรใช้วิธีการอบรมสัมมนา ในการจัดการเรียนการสอนมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางสังคมและการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น โดยใช้หลักสูตรและตารางกิจกรรมที่จัดทำขึ้นเอง กิจกรรมที่ใช้ได้แก่การเล่านิทานหรือเรื่องราวต่างๆ และเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนจากธรรมชาติ ประเภทของสื่อที่ใช้คือเพลงหรือดนตรี วัดและประเมินผลเด็กโดยใช้การสังเกต และมีการคัดเลือกบุคลากรที่มีสุขภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ บุคลากรมีหน้าที่จัดการเรียนการสอนและเลี้ยงดูเด็ก การประเมินผลบุคลากรจะใช้การสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรกับเด็ก อาหารหรือของว่างจัดเตรียมโดยบุคลากรภายใน สถานรับเลี้ยงเด็กได้มอบหมายให้บุคลากรเป็นผู้ประสานงานกับผู้ปกครองโดยการพบปะพูดคุยในขณะที่มารับและส่งเด็ก และทางสถานรับเลี้ยงเด็กได้ให้คำปรึกษาและสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองและคนในชุมชนเรื่องการจัดการศึกษาและการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่ถูกวิธี ปัญหาจากการวิจัยพบว่า พื้นที่ทั้งภายนอกและภายในอาคารเรียนคับแคบ งบประมาณในการบริหารงานไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย และบุคลากรที่ทำหน้าที่นิเทศการสอนมีไม่เพียงพอ ในการจัดการเรียนการสอนพบว่าขาดแคลนสื่อการเรียนการสอนและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดูเด็กแตกต่างกัน ส่วนผู้รับผิดชอบโภชนาการยังไม่เคยเข้ารับการอบรมทางด้านโภชนาการเด็ก และผู้ปกครองและคนในชุมชนมีภารกิจทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมในสถานรับเลี้ยงเด็กได้
Other Abstract: The objective of this research was to study state and problems of organizing educare for young children in child care centers under the Ministry of Defense. The study covered the environment, the management and the supervision, the curriculum and the instruction, the early childhood educational personnel, the services for children and the relationship between a child care center, families and a community. The samples were 119 early childhood educational personnels and 119 parents. Questionnaire forms, interviewing forms, observation form and surveying form were the tools for the research. The results of the research showed that child care centers had playgrounds with playing equipments, one-story building and interior decorations were assigned to be done by personnels themselves and the establishment of child care centers were for service of military officers in the unit. The management of the centers followed the policy of military welfare unit and was proceeded by management committee and administrator. The budget came from the fee collected from parents. Administrator encouraged the supervision of personnels by means of seminars. The main objective of educating was to help children develop social skills and social adaptation using the arranged curriculum and daily schedule. The main activity was story telling. The natural materials as well as songs and music were used. Observation was used for evaluation. Personnels were selected from those with sound mind and health. Observing the relationship between personnels and children was the way to evaluate them. Meals or snacks were prepared by personnels. The personnels were assigned by center to coordinate with parents by means of conversing when they came to drop off and pick up their children from the center and the personnels gave advice to families and the community about appropriate ways to organize educare for their children. The following problems were found during the study: the place was not spacious enough. The budget was not enough to cover expenses. The number of personnels was not enough. The quantity of instructional materials and media was insufficient. There were differences in personnels’ knowledge of child care. Personnels responsible for nutrition had never attended courses relating to child nutrition. Parents and people in the community were occupied with their duties so they were not available to participate in activities in child care center.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64485
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.597
ISBN: 9740307477
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.597
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannaporn_ka_front_p.pdf809.32 kBAdobe PDFView/Open
Wannaporn_ka_ch1_p.pdf819.86 kBAdobe PDFView/Open
Wannaporn_ka_ch2_p.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
Wannaporn_ka_ch3_p.pdf945.47 kBAdobe PDFView/Open
Wannaporn_ka_ch4_p.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open
Wannaporn_ka_ch5_p.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Wannaporn_ka_back_p.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.