Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64496
Title: การประเมินสภาพทางเพื่อใช้ในการบริหารงานบำรุงทางหลวงชนบท
Other Titles: Evaluation of rural road condition for maintenance management
Authors: วิศว์ รัตนโชติ
Advisors: วิศณุ ทรัพย์สมพล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ถนน -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
ทางหลวงชนบท
Roads -- Maintenance and repair
Rural roads
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การชำรุดเสียหายของทางหลวงส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับอายุของสายทางและปริมาณจราจร การบำรุงรักษาทางอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อไม่ให้ทางหลวงชำรุดเสียหายจนใช้การไม่ได้ แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณจึงจำเป็นด้องมีการบริหารงานเพื่อจัดลำดับความสำคัญในการบำรุงทาง ให้สอดคล้องกับลักษณะและขนาดของความเสียหายเพื่อใช้งบประมาณที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบที่มีผลต่อการจัดลำดับความสำคัญของสายทาง และนำมาสร้างแบบจำลองการประเมินสภาพทางของทางหลวงชนบทเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบำรุงทาง โดยใช้ข้อมูลจากทางหลวงของกรมโยธาธิการเป็นกรณีศึกษาจำนวน 23 สายทาง การประเมินสภาพทางในแต่ละหน่วยงานมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ขององค์กร สำหรับทางหลวงชนบทในความดูแลของกรมโยธาธิการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น ซึ่งในปัจจุบันประสบปัญหาข้อจำกัดด้านงบประมาณ จึงต้องมีการคัดเลือกสายทางเพื่อทำการซ่อมบำรุง วิธีการประเมินสภาพทางในปัจจุบันให้เจ้าหน้าที่ตรวจวัดความเสียหายตามสภาพที่มองเห็น (Visual Measurement) และบันทึกผลในรูปแบบวิธีการแก้ไขจากนั้นใช้ประสบการณ์ดัดสินใจจัดลำดับความสำคัญ วิธีการดังกล่าวไม่สามารถระบุชนิดและความสำคัญของลักษณะความเสียหายของแต่ละสายทาง มีผลต่อการดัดสินใจว่าสายทางใดมีความเสียหายรุนแรงหรือเร่งด่วน จึงเป็นการยากลำบากต่อการจัดสรรงบประมาณที่มีอย่างจำกัด นอกจากนี้การประเมินยังมีความแตกต่างตามบุคคลผู้ประเมิน (Subjective Measurement) ดังนั้นการศึกษานี้ได้พัฒนาวิธีการประเมินในรูปแบบดรรชนีสภาพทางตามความสำคัญของความเสียหายของผิวทาง ซึ่งขั้นตอนที่สำคัญในการพัฒนาดรรชนีคือ การกำหนดชนิดของความเสียหายของผิวทางที่ตรวจพบ การกำหนดค่าน้ำหนักความเสียหาย การให้คะแนนสภาพทาง จากประสบการณ์ของวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้วิธี Analytic Hierarchy Process (AHP) ในการวิเคราะห์ความเสียหายของผิวทางที่มีผลกระทบต่อการประเมินสภาพทาง และหาค่าน้ำหนักของความเสียหาย นำมาสร้าง ความสัมพันธ์เป็นแบบจำลองการให้คะแนนสภาพทางในรูปของดรรชนีสภาพทาง (Rural Road Condition Index: RCI) ผลคะแนนของสายทางตัวอย่าง นำไปศึกษาเปรียบเทียบกับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ แล้วประมวลผลในรูปแบบคุณภาพทางตามคะแนนดรรชนี RCI ผลการศึกษา พบว่าความเสียหายที่ตรวจพบและมีผลกระทบต่อสภาพทางอยู่ในเกณฑ์รุนแรง 8 ประเภท เมื่อวิเคราะห์ผลสำรวจภาคสนามและภายหลังการประเมินหาค่าน้ำหนักจึงคัดเลือกความเสียหาย 6 ประเภทเพื่อนำมาใช้ในการสร้างแบบจำลอง โดยเรียงตามค่าน้ำหนักความสำคัญจากมากไปหาน้อยได้แก่ ความเสียหายแบบหลุมบ่อ รอยแตกหนังจรเข้ ยุบตัวหรือรอยปะซ่อม ยุบตัวเป็นแอ่ง ร่องล้อ และรอยแตกตามแนวยาวหรือแนวขวาง ตามลำดับ เมื่อนำแบบจำลองที่สร้างขึ้นมาทดสอบความถูกต้องและความเที่ยงปรากฏว่า ผลที่ได้จากแบบจำลองสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับการประเมินด้วยวิธีการเดิม และสอดคล้องกับแบบจำลองอื่นที่ใช้อย่างแพร่หลาย ดังนั้นประโยชน์ของการนำแบบจำลองที่สร้างขึ้นมาปฏิบัติงานเป็นการประเมินที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและเป็นการประเมินเชิงปริมาณ (Quantitative) ลดปัญหาความคลาดเคลื่อนระหว่างบุคคลผู้ประเมิน นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่านำหนักความสำคัญของความรุนแรงตามประเภทของความเสียหายที่แตกต่างกัน ทำให้สายทางที่มีความเสียหายรุนแรงจะได้รับการซ่อมบำรุงก่อนเป็นการใช้งบประมาณที่มีอย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: Most of road deterioration is caused by aging and traffic volumes. Continuous maintenance is therefore necessary in order to preventing roads from failure. Due to limited budget, maintenance management is needed to prioritize maintenance needs according to types of distresses and its degree of deterioration. This study analyze factors affecting maintenance prioritization. The model is also developed to evaluate road condition for the purpose of maintenance management. Data used in this study is from twenty three rural roads projects of the Department of Public Works (PWD). The evaluation of road condition varies among each authority due to the difference in their objectives. The purpose of constructing rural roads of PWD is to provide necessary infrastructure to community. At present, deteriorated roads are ranked for maintenance due to budget limitation. The current evaluation method is based on visual measurement. Road inspectors then recommend maintenance priority based on their experience. As a result, such method cannot identify the type and degree of road distresses. Moreover, such method gives biased result due to subjective measurement which varies among each inspector. This study develops the evaluation method using the road condition index which reflects the importance of road distresses. The important steps for developing the model are defining distresses which are frequently found, weighting the importance of each distress, and rating road condition by using the Analytic Hierarchy Process (AHP) based on engineering experts. The model is developed in the form of the Rural Road Condition Index (RCI). The results of case studies using such index are then compared with experts’ judgment in order to finalizing the practical RCI. The results show that there are eight frequently found distresses which seriously affect the road condition. Upon analyzing the result from field survey and after evaluation of important weight of each distress, six distress types are selected to form the model. The importance of distresses are potholes, alligator cracks, utility cut depression and patching, depression, rutting and longitudinal or transverse cracks respectively. Upon testing the model for validation and reliability, the results show high correlation with the evaluation by experts and other widely used models. Therefore, the benefit of using this model is to provide the same standard of evaluation method based on quantitative measurement. As a result, it decreases the variation of evaluation among inspectors. Moreover, the results also reflect the importance and extent of each distress. Roads which are in serious deteriorated would therefore get priority for maintenance which maximizes the effective use of restricted budget.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64496
ISBN: 9740301002
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wit_ra_front_p.pdfหน้าปก และ บทคัดย่อ835.58 kBAdobe PDFView/Open
Wit_ra_ch1_p.pdfบทที่ 1783.64 kBAdobe PDFView/Open
Wit_ra_ch2_p.pdfบทที่ 21.29 MBAdobe PDFView/Open
Wit_ra_ch3_p.pdfบทที่ 3736.48 kBAdobe PDFView/Open
Wit_ra_ch4_p.pdfบทที่ 4832.69 kBAdobe PDFView/Open
Wit_ra_ch5_p.pdfบทที่ 5931.32 kBAdobe PDFView/Open
Wit_ra_ch6_p.pdfบทที่ 6708.59 kBAdobe PDFView/Open
Wit_ra_ch7_p.pdfบทที่ 7688.94 kBAdobe PDFView/Open
Wit_ra_back_p.pdfบรรณานุกรม และ ภาคผนวก2.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.