Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64621
Title: Online social media and applications use engaing in sexual risk behaviors among HIV infected men who have sex with men in Bangkok, Thailand
Other Titles: การใช้สื่อออนไลน์และแอปพลิเคชั่นในการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของกลุ่มผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีชายรักชายในกรุงเทพมหานคร  ประเทศไทย
Authors: Sasithorn Bureechai
Advisors: Chitlada Areesantichai
Other author: Chulalongkorn University. College of Public Health Sciences
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: HIV-positive persons
Social media
Gays -- Thailand -- Bangkok
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
สื่อสังคมออนไลน์
เกย์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Issue Date: 2018
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The purpose of this study is to identify the pattern of social media use and risky sexual behavior of men who have sex with men in Bangkok, Thailand by using a mixed method.This is a cross-sectional study based upon quantitative and qualitative data collection. The target population is Bangkok MSM aged over 15 who visit a research institute for consultancy.  The data collection took 6 months from June to November 2018, and the subjects participating in this study total at 201.  All subjects respond to a set of close-end and open-end questions. The data is analyzed with SPSS V.22 with single and bivariate variables at the confidence level of 95%. The infection status and the pattern of social media use are revealed in this study. Considering the infection status first, 71 subjects (35.3%) are HIV-positive and 130 subjects (64.7%) are HIV-negative.The results from this study yield that among the total of 201 participants, there are eighty percent of the HIV-positive are online users while approximately sixty percent of the HIV-negative are the online users. The statistical analysis shows that age is one of the factors that can influence the possibility of having sex partners from using online social media. The mean age of the HIV-positive are older than the HIV-negative : HIV-positive Mean age 34.78±11.78 Vs. HIV-negative Mean age 25.56 ±6.38. Moreover, HIV-status has an influence on the possibility of having sex partners which can be seen from the number of sex partners they having had from online platform in a comparison between HIV-positive and HIV-negative. There are higher number of HIV-negative who reported having had sex partner from online platform than the HIV-positive. In addition, the HIV-negative tend to practice riskier behaviors if considering in the aspect of type of sex partners they have. Some of the HIV-negative reported having sex workers as their partners from their experience of using online while none of HIV-positive reported having this type of sex partners.As far as risky sexual behavior is concerned, the study found a risk related to HIV transmission and infection in both groups. Approximately seventy percent of the infected reported their consistent use of condom when engaging in a sexual intercourse. With a similar number of the non-infected, approximately seventy percent reported the use of condom when engaging in a sexual intercourse with partners whom they have met online. With the minority of this group reporting seldom use of condom. Regarding alcohol consumption for sexual stimulation, the study found only 5 % of the infected drink alcohol sometimes before having sex. This is in the contrary for the non-infected group where 52.1 % of the members used alcohol as sexual stimulant. Only a few subjects reported their independence of alcohol consumption for sexual stimulation. As for the use of drug to stimulate sexual desire with partners found online, the study shows the difference of the infected and the non-infected group which using drug to stimulate sex was found to be among the non-infected. To summarize how online applications were utilized among MSM, of those who are online users have their own ways to approach strangers and end up with making a decision to meet in a person. However, the results from this study showed the variety of the patterns of using online social media in order to find sex partners. The findings also suggested with whatever reasons that motivate them choosing any application regardless of HIV-status they absolutely have possibility to get sleeping partners from the online venue. Other suggestions from the results of the study in terms of how online social media use. Of those who are online users regardless of their HIV-status, to create their profile whether they disclose their information or not they still having a possibility of having sleeping partners(p-value 0.00), whereas whatever conversation that they have would related to sex content or not, they have possibility of having chance of getting sleeping partners(p-value 0.00). In the similar context, regardless of they revealed their identity or not (p-value 0.00) , still have chance of getting sleeping partners which means they have possibilities of engage in having risky sexual behaviors later.    
Other Abstract: การศึกษาวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้เป็นการศึกษาแบบแผนการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของกลุ่มชายรักชายในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยการสัมภาษณ์ตัวต่อตัวในกรณีที่อาสาสมัครยินดีให้ผู้วิจัยสัมภาษณ์และสำหรับอาสาสมัครที่ไม่ยินดีให้สัมภาษณ์แต่ยินดีร่วมโครงการวิจัยจะเป็นการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามโดยตอบด้วยตนเอง ซึ่งเป็นงานวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในกลุ่มชายรักชายในกรุงเทพมหานคร อาสาสมัครของโครงการวิจัยทั้งหมดมาจากผู้ที่มารับบริการด้านสุขภาพที่ศูนย์วิจัยแห่งหนึ่งและคลินิคให้บริการด้านสุขภาพแห่งหนึ่ง รวมถึงผู้สนใจเข้าร่วมตอบแบบสอบถามทางออนไลน์ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 201 คน ผลการศึกษาพบว่า ในจำนวนอาสาสมัครชายรักชายทั้งหมด 201 คน โดยอาสาสมัครที่ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 71 คน(ร้อยละ 35.3) และ อาสาสมัครที่ไม่มีเชื้อเอชไอวีจำนวน 130 คน(ร้อยละ 64.7 ) จากจำนวนอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มนี้ คิดเป็นร้อยละ 80.3 ของกลุ่มที่ติดเชื้อ และ ร้อยละ56.2 ของกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อมีการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในการหาคู่นอน อายุของอาสาสมัครมีผลกับวิธีการหาคู่นอน อายุเฉลี่ยของกลุ่มอาสาสมัครที่ติดเชื้อ(Mean age) 34.78±11.78 และกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อ (Mean age) 25.56 ±6.38 อาสาสมัครที่มีอายุในช่วง15-34 ปี เลือกใช้งานช่องทางที่เป็นสื่อสังคมออนไลน์มากกว่ากลุ่มคนที่มีอายุ34 ปีขึ้นไป คิด นอกจากนี้ยังพบว่า สถานะการติดเชื้อเอชไอวีมีผลให้มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการหาคู่นอน โดยเห็นได้ว่า อัตราส่วนการมีคู่นอนที่ได้จากช่องทางออนไลน์ของกลุ่มติดเชื้อน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ติดเชื้อ ทั้งนี้ยังพบว่าในกลุ่มอาสาสมัครที่ไม่ติดเชื้อมีจำนวนคู่นอนที่มาจากการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์มากกว่ากลุ่มอาสาสมัครที่ติดเชื้ออย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ข้อมูลจำนวนคู่นอนและประเภทคู่นอนที่ได้จากข่องทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของงานวิจัยนี้ยังพบว่า เมื่อเปรียบเทียบร้อยละการได้คู่นอนระหว่างสองกลุ่มมีความแตกต่างกันคือ กลุ่มที่ติดเชื้อมีการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในการหาคู่ก็จริงแต่ได้คู่นอนในอัตราที่น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ติดเชื้อเมื่อคิดจากจำนวนผู้ใช้งานภายในกลุ่มเดียวกัน และยังพบอีกว่ากลุ่มผู้ติดเชื้อไม่มีการรายงานว่าได้คู่นอนประเภทsex workerจากการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา ในขณะที่กลุ่มไม่ติดเชื้อมีคู่นอนที่เป็นประเภท sex workerจากการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ด้านพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับคู่นอนที่ได้จากช่องทางสื่อสังคมออนไลน์นั้น จากการศึกษาพบว่าทั้งสองกลุ่มยังมีความเสี่ยงทั้งในการการแพร่เชื้อและรับเชื้อโรคที่สามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ โดยพบว่า จากจำนวนผู้ใช้งานของทั้งสองกลุ่ม โดยประมาณร้อยละ 70 ของกลุ่มที่ติดเชื้อและ ของกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อมีการใช้ถุงยางอนามัยกับทุกคน ในขณะที่ร้อยละ20ของกลุ่มอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มมีการใช้ถุงยางอนามัยกับคู่นอนที่ได้จากช่องทางสื่อสังคมออนไลน์เป็นบางครั้งเท่านั้น ในเรื่องการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนการมีเพศสัมพันธ์นั้นพบว่า ร้อยละ 92.2ส่วนใหญ่ของกลุ่มที่ติดเชื้อไม่มีการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอออล์ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ ในขณะที่ ร้อยละ 52.1 ของกลุ่มไม่ติดเชื้อมีการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์บางครั้งก่อนการมีเพศสัมพันธ์ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ต้องดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง การศึกษาการใช้สารเสพติดก่อนการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่พบจากสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า ร้อยละ90 ของกลุ่มที่ติดเชื้อไม่มีการใช้สารเสพติดก่อนการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ได้จากช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ ในขณะที่อาสาสมัครจำนวนหนึ่งของกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อคิดเป็นร้อยละ 28.4 มีการใช้สารเสพติดบางครั้งก่อนการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่รู้จักผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ รูปแบบในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มชายรักชายเพื่อจุดประสงค์การหาคู่นอนในงานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการศึกษาในด้าน การสร้างโปรไฟล์ การโพสต์รูปภาพ การพูดคุยสนทนา และการใช้ฟังก์ชั่นวิดีโอคอล หรือ การโพสต์วิดีโอ ที่มีให้ใช้งานจำเพาะในแต่ละแอปพลิเคชั่นนั้นพบทั้งการใช้งานที่เหมือนและต่างกันในอาสาสมัครสองกลุ่ม โดยพบว่าการสร้างโปรไฟล์ของอาสาสมัครที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีการระบุเพียงอายุ น้ำหนัก และส่วนสูง ซึ่งมีผลต่อการได้คู่นอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และ การที่ไม่มีการระบุข้อมูลที่ยืนยันตัวตนได้จริงในครั้งแรกที่มีการใช้งานในกลุ่มที่ติดเชื้อมีผลต่อการได้คู่นอนจากช่องทางออนไลน์ที่มีผลทางสถิติอีกด้วย (p<0.05) ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ติดเชื้อมีความหลากหลายในการสร้างโปรไฟล์ในครั้งแรก โดยที่อาจจำไม่ได้คำนึงถึงข้อมูลส่วนตัวมากเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ติดเชื้อ จึงมีการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากกว่า เช่น การระบุ ID Line หรือ Facebook account ในกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อ ซึ่งการให้ข้อมูลที่มากกว่าการปกปิดนั้นมีผลต่อการได้คู่นอนในกลุ่มที่ไม่ติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ( p<0.01**) เมื่อกล่าวถึงการใช้งานในลักษณะของบทสนทนาพบว่า ส่วนใหญ่ทั้งสองกลุ่มมีการสนทนาทั้งที่เป็นบทสนทนาทั่วๆไป และ บทสนทนาที่ล่อแหลมหรือเกี่ยวกับเรื่องเพศ ซึ่งจากผลทางสถิติแล้วพบว่า ทั้งสองกลุ่มไม่ว่าจะมีการสนทนาที่เป็นปกติทั่วไปหรือมีการกล่าวถึงเรื่องเพศแล้วนั้น สามารถส่งผลให้กลุ่มผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์มีความเป็นไปได้ที่จะได้คู่นอนจากช่องทางนี้ (p<0.001***) ในประเด็นของการอัพโหลด หรือโพสต์รูปภาพในขณะที่มีการใช้งานของกลุ่มอาสาสมัครในงานวิจัยชิ้นนี้ พบว่า ในกลุ่มที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะโพสต์รูปที่ไม่เห็นหน้าตัวเองชัดเจน หรือ หลีกเลี่ยงการโพสต์รูปที่เห็นหน้า จึงมีการโพสต์รูปเรือนร่างของตนเองแทน ซึ่งการมีรูปแบบการใช้งานแบบนี้ส่งผลให้ผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มติดเชื้อมีความเป็นไปได้ที่จะได้คู่นอนจากช่องทางนี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01**) ในทางเดียวกันกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อที่มีการโพสต์รูปภาพตนเองก็มีความหลากหลายในการใช้งานซึ่งมีผลต่อการได้คู่นอนอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน (p<0.01**)
Description: Thesis (M.P.H.) --Chulalongkorn University, 2018
Degree Name: Master of Public Health
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Public Health
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64621
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.485
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.485
Type: Thesis
Appears in Collections:Pub Health - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5878851853.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.