Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64729
Title: การสื่อสารเพื่อประกอบสร้างอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ตในประเทศไทย
Other Titles: Communication for identity construction of e-sport competitors in Thailand
Authors: ศุภกฤตษ์ จิตตภัทราวงศ์
Advisors: ปรีดา อัครจันทโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: อัตลักษณ์
การสื่อสาร
Identity (Philosophical concept)
Communication
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่อง “การสื่อสารเพื่อประกอบสร้างอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ตในประเทศไทย”เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) อธิบายลักษณะการสื่อสารเพื่อประกอบสร้างอัตลักษณ์ของนักแข่งอีสปอร์ต 2.) อธิบายลักษณะการสื่อสารอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ตต่อบุคคลภายนอกบนพื้นที่สาธารณะ และ 3.) อธิบายลักษณะการรับรู้อัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ต จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) กับนักแข่งอีสปอร์ตในประเทศไทย ผู้เกี่ยวข้องกับอีสปอร์ตต่าง ๆ เช่น นักวิชาการ ผู้ฝึกสอนอีสปอร์ต ผู้สนับสนุน นักกีฬา เป็นอาทิ สัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Focus group) การสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วมในพื้นที่การแข่งขันอีสปอร์ต (Non-participant Observation) พร้อมทั้งศึกษาเอกสารต่าง ๆ (Document analysis) ประกอบด้วย ผลการศึกษาพบว่า นักแข่งอีสปอร์ตมีการประกอบสร้างอัตลักษณ์ใน 2 พื้นที่ คือ 1.) โลกกายภาพ (Physical world) ผ่านการให้ความหมาย ตัวตนและภาพปรากฏ ลักษณะภาษาที่ใช้ และกระบวนการแข่งขันอีสปอร์ต 2.) พื้นที่โลกเสมือน (Virtual world) ผ่านการขยายตัว การตั้งชื่อ การสร้างตัวตนทั้ง 2 พื้นที่จะรวมเป็นอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ตและสื่อสารเพื่อรื้อสร้าง ประกอบสร้าง และต่อต้านภาพเหมารวมของสังคม การรับรู้และถอดรหัสอัตลักษณ์ของนักแข่งอีสปอร์ตของบุคคลคนในสังคมพบว่าการรับรู้อัตลักษณ์ของนักแข่งอีสปอร์ตจะมีการรับรู้อัตลักษณ์ผ่านการนิยามความหมาย รวมทั้งตัวตนและภาพปรากฏของนักแข่งอีสปอร์ตที่ไม่มีการแยกพื้นที่หรือช่วงเวลาเป็นสำคัญ อีกทั้งการรับรู้และถอดรหัสอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ตจะมีลักษณะที่แตกต่างกันตามความใกล้ชิด การติดตาม ซึ่งส่งผลต่อการยอมรับอัตลักษณ์นักแข่งอีสปอร์ต  
Other Abstract: The study "Communication for identity construction of E-sport competitors in Thailand” is a qualitive research; intended to, first, describe communicative ways E-sport competitors employ to shape their identities. Second, to describe communicative ways E-sport competitors employ when communicating with the public. Third, to describe competitors’ perceptions of their own identities. In doing so, researcher utilized 4 different research methodologies; In-depth Interview (with Thailand’s E-sport competitors, coaches, scholars, sponsors, etc.), Focus Group Interview, Non-participant Observation, and Document Analysis. The findings exhibited 2 channels of identity formation. First, through a Physical World by Definition, Appearance & Demeanor, Language, and Competitions. Second, through a Virtual World by Self Extension and Name Picking. The combination of both channels resulted in competitors’ complete identities and communicative ways to deconstruct, construct, and neutralize public generalization. In terms of public perceptions and interpretations, the results demonstrated that the public perceived competitors’ identities via Definition and Appearance & Demeanor regardless of specific place and time. In addition, varied degrees of interest accounted for different acceptance rates the public had toward competitors.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64729
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.891
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.891
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6084683128.pdf4.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.