Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64730
Title: กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ
Other Titles: Fact checking process in social media among the elderly
Authors: สุทธิมนัส ชินอัครพงศ์
Advisors: เจษฎา ศาลาทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: สื่อสังคมออนไลน์
ผู้สูงอายุ
สื่อมวลชนกับผู้สูงอายุ
Social media
Older people
Mass media and older people
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษากระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์การศึกษา ประการแรก เพื่ออธิบายกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ ประการที่สอง เพื่อศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างความรู้เรื่องกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์สำหรับผู้สูงอายุ การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิจัยแนวทางปรากฏการณ์วิทยา มีวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และ คัดเลือกจากการสังเกตการณ์ออนไลน์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม กลุ่มแรก ผู้สูงอายุที่มีอายุเทียบเท่าตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เคยมีประสบการณ์การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ และมีแสดงออกถึงการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วม รวมกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่ศึกษา 12 คน กลุ่มที่สอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสาร จำนวน 4 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 8 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุเป็นกระบวนการที่มีการตรวจสอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก ซึ่งเรียงลำดับจาก 1) การตรวจสอบด้วยแหล่งข้อมูลในตัวผู้สูงอายุ (Internal source) และเมื่อผู้สูงอายุยังคงไม่แน่ใจความถูกต้อง จะนำไปสู่กระบวนการ 2) การตรวจสอบด้วยแหล่งข้อมูลภายนอกผู้สูงอายุ (External source) นอกจากนั้น หลังจากกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลแล้ว ผู้วิจัยพบว่ามีกระบวนการหลังการตรวจสอบ คือ การหักล้างข้อมูลเท็จ (Debunking) และผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สูงอายุโดยพบ ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารของผู้สูงอายุ ได้แก่ ประเด็นความสะดวก การประกอบอาชีพในอดีต ปัญหาด้านสุขภาพ และความรู้จากการอมรมสัมมนาและสถาบันที่มีความรู้ ส่วนแนวทางในการเสริมสร้างความรู้เรื่องกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์สำหรับผู้สูงอายุ พบว่า มีแนวทางในการพัฒนา คือ ในเชิงการใช้สื่อบุคคลส่งเสริมผู้สูงอายุพบว่า ผู้เชี่ยวชาญ และบุคคลที่มีความใกล้ชิด เป็นสื่อบุคคลที่สามารถสื่อสารกับผู้สูงอายุได้มีประสิทธิภาพ ในเชิงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การอบรม การสร้างห้องเรียนฝึกทักษะ โดยการมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะทำให้ผู้สูงอายุเปลี่ยนทัศนคติและนำข้อมูลไปใช้ในการตรวจสอบได้ ในเชิงการส่งเสริมภาพลักษณะของผู้สูงอายุ โดยเสนอว่า การตอกย้ำภาพผู้สูงอายุในฐานะผู้ทำผิด เป็นตัวปัญหา ไม่ใช่วิธีที่ดีในการส่งเสริมหรือแก้ไขปัญหาสำหรับผู้สูงอายุ และสุดท้ายคือในเชิงการดูแลและปรับปรุงเนื้อหาในสื่อสังคมออนไลน์ให้เหมาะสม ด้วยการสร้างแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือชุดอื่น ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ มากกว่าการให้ผู้สูงอายุเปิดรับข่าวสารจากการส่งต่อกันมา เป็นต้น
Other Abstract: The study on the process of fact checking information and news on social media of the elderly holds the objectives of the study with the first objective explaining the process of the elderly fact checking information and news on online platforms and the second objective is to study the process of building an understanding of the process of fact-checking information and news on an online platform by elderly. This is a qualitative research using a phenomenological method research approach choosing a specific group of subjects and selecting test subjects from an online observation, collecting data from both subject groups. The first subject group is the elderly that is 60 years old and above that have experience with online platforms and have fact checked information with in depth interviews and observation with no interference with a total of 12 people while the second subject group are four experts on fact checking and four experts on the elderly in this group, a total of eight people. The method used is in depth interviews to collect data. Results of the study indicated that the process of fact checking information and news on online platforms by the elderly is a process that is done in two major steps as the following 1) Fact checking with elderly’s Internal source and if elderly still doubt they might for forward to the next process 2) asses information from external sources (External source) After the process of fact checking information, the researcher has found that the process after fact checking is debunking the information. The researcher analyzed information gained from in depth interviews with the elderly and found that factor that related to the fact checking process of the elderly was convenience , past careers health problems and knowledge from knowledgeable seminars and institutions. As for the ways to enhance knowledge on fact checking information and online platforms of the elderly is to use public figures to enhance knowledge in fact checking, arranging learning activities, seminars and having a classroom to build skills, promote with fun content and doesn’t emphasize the problems that are related to the elderly while maintaining and adjusting content on social media that is moderate.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64730
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.892
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.892
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6084684828.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.