Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64866
Title: | นวัตกรรมการรีไซเคิลซิลิโคนสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตน้ำยาขัดเงาและทำความสะอาด |
Other Titles: | Innovation of silicone wastes recycling for polishing and cleaning product industries |
Authors: | ณัฐวุฒิ พรสมุทรสินธุ์ |
Advisors: | เฟื่องฟ้า อุ่นอบ อัจฉรา จันทร์ฉาย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาปฏิกิริยาการสลายตัวของซิลิโคนพอลิเมอร์แบบใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโดยใช้เครื่องจักรต้นแบบที่ได้ออกแบบมาโดยเฉพาะ และทำการเปรียบเทียบ Yield ของสารผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังการรีไซเคิลด้วยกรด (H2SO4) และเบส (KOH) กระบวนการจะเริ่มจากปฏิกิริยา Hydrolysis ของซิลิโคนพอลิเมอร์และจะเกิดการแตกตัวของสายพอลิเมอร์ที่อุณหภูมิสูงร่วมกับการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา โดยใช้เครื่องจักรต้นแบบที่ทำมาจากเหล็กกล้าที่มีการให้ความร้อนผ่านส่วนฐานและใช้ใบกวนในการกวนสารเคมี สารผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีไซเคิลจะเป็นสารผสมของซิลิโคนที่มีโครงสร้างแบบวง โดยจะมีทั้งสิ้น 3 โครงสร้างที่เป็น Azeotrope คือ D3 D4 และ D5 โดยมีความบริสุทธิ์มากกว่า 90% นอกจากนี้ได้ทำการประเมินแผนธุรกิจและพบว่าการรีไซเคิลซิลิโคนนั้นมีต้นทุนที่ต่ำมาก หากเทียบกับราคาขายปลีกและราคาขายส่งในท้องตลาดซึ่งพบว่าราคาซิลิโคนจากการรีไซเคิลนั้นมีราคาต่ำกว่าหลายเท่าตัว และจากการสอบถามกลุ่มตัวอย่างในอุตสาหกรรมผลิตน้ำยาขัดเงาและทำความสะอาดทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่พบว่ากลุ่มตัวอย่างนั้นมีความสนใจที่จะนำผลิตภัณฑ์ซิลิโคนจากการรีไซเคิลนี้มาทดลองใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตสินค้าจริงในระดับ R&D และให้น้ำหนักการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ซิลิโคนจากปัจจัยด้านราคามากที่สุด จากการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ทางการเงินด้วยเงินลงทุนทั้งสิ้น 6,889,000 บาท โดยโครงการมีระยะเวลา 5 ปี และกำหนดให้มีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 5% ในช่วง 2 ปีแรก และโตเป็น 10% ในช่วง 2 ปีถัดมา พบว่าจะมีระยะเวลาการคืนทุนอยู่ที่ 2 ปี 10 เดือน โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 7,333,204 บาท มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับ 35.74% |
Other Abstract: | The proposed process based on thermal catalytic depolymerization of silicone wastes using the specific designed cracking prototype. The yield of mixed cyclic siloxanes obtained from cracking process using acid (H2SO4) and base (KOH) catalysts are compared. The process starts from the hydrolysis of crosslinked silicone wastes by adding water and the cracking of the molecules of silicone wastes at high temperature using the acid or base catalyst. The prototype consists of the stainless steel pot having heating part at the bottom and agitator. The recycled product has 3 azeotropes of cyclic siloxanes which are D3, D4 and D5 structures with the purity of more than 90%. In addition from the evaluation of the business plan, the price of recycled silicone is much lower than the market price. The results from the survey show that the industrial sectors are interested in using this recycled silicone as ingredient in the products in the R&D scale. The most important factor considered by the buyers is the price. For feasibility of commercialization, the financial analysis of 5 years showed that when growth rate was at 5% in the first 2 years and 10% in the next 2 years with the investment 6,889,000 baht the payback period was at 2.77 years with 7,333,204 baht NPV and 35.74% IRR. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64866 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5687198020.pdf | 6.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.