Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64891
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรพจน์ กนกกันฑพงษ์-
dc.contributor.advisorสราวุธ ศรีทองอุทัย-
dc.contributor.authorปรีชาพัฒน์ พัวสุวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-04-05T07:41:16Z-
dc.date.available2020-04-05T07:41:16Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64891-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำมันหล่อเย็นใช้แล้วจากอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยกระบวนการเฟนตันประยุกต์ โดยการใช้ผงเหล็ก ช็อตบลาสท์และตะกรันอะลูมิเนียมเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยผงเหล็ก ช็อตบลาสท์จะทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการเฟนตันแทนการใช้สารละลายเกลือเหล็ก  ส่วนตะกรันอะลูมิเนียมจะทำหน้าที่เป็นตัวสนับสนุนปฏิกิริยา ภาวะที่ทำการศึกษา ได้แก่ เวลาในการบำบัดช่วง 5 – 180 นาที พีเอชเริ่มต้นช่วง 3 - 5 ปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ช่วง 0.5 – 1.5 มิลลิลิตร ผงเหล็กช็อตบลาสท์ช่วง 0.25 – 3.5 กรัม และตะกรันอะลูมิเนียมช่วง 0.25 – 2 กรัม การเลือกภาวะที่เหมาะสมจะพิจารณาจากประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีเป็นหลัก หลังจากได้ภาวะที่เหมาะสมแล้วจะทำการศึกษาประสิทธิภาพในการบำบัดพารามิเตอร์อื่น ๆ เช่น บีโอดี และปริมาณของแข็งแขวนลอย รวมทั้งศึกษาการนำตะกอนจากการบำบัดกลับมาใช้ซ้ำ และเปรียบเทียบประสิทธิภาพและค่าใช้จ่ายในการบำบัดระหว่างกระบวนการเฟนตันประยุกต์และ เฟนตันปกติ ผลการศึกษาพบว่าภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำมันหล่อเย็นใช้แล้วด้วยกระบวนการเฟนตันประยุกต์ คือ เวลา 60 นาที พีเอชเริ่มต้น 3 ปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 1 มิลลิลิตร ปริมาณผงเหล็กช็อตบลาสท์ 2.5 กรัม และปริมาณตะกรันอะลูมิเนียม 1 กรัม ต่อน้ำมันหล่อเย็น 50 มิลลิลิตร ประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดี บีโอดี และปริมาณของแข็งแขวนลอยในน้ำมันหล่อเย็นใช้แล้ว ณ ภาวะที่เหมาะสม เฉลี่ยร้อยละ 47.31, 53.34 และ 74.96 ตามลำดับ ตะกอนหลังบำบัดของกระบวนการเฟนตันประยุกต์สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก 1 ครั้งโดยที่ประสิทธิภาพไม่ต่างจากเดิม และจากการเปรียบเทียบพบว่ากระบวนการเฟนตันประยุกต์มีประสิทธิภาพเฉลี่ยในการบำบัดซีโอดีในน้ำมันหล่อเย็นใช้แล้วมากกว่าเฟนตันปกติอยู่ประมาณร้อยละ 28 และมีค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้อยกว่าประมาณ 340 บาทต่อน้ำเสีย 1 ลูกบาศก์เมตร-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study the optimum conditions of coolant oil treatment from auto parts manufacturing with modified Fenton reaction by reused iron dust from shot blast process and aluminium dross from casting process of auto parts manufacturing. The wastewater treatment experiment was conducted in range of reaction time 5-180 minutes, initial pH 3-5, hydrogen peroxide dose 0.5-1.5 ml, shot blast dose 0.25-3.5 g and aluminium dross dose 0.25-2 g. The optimum condition was mainly considered in COD removal efficiency and subsequently removal efficiency of other parameters such as BOD, and TSS. The results showed that optimum condition in this study were 60-minute reaction time, initial pH at 3, 1 ml of hydrogen peroxide, 2.5 g of shot blast, and 1 g of aluminium dross in 50 ml for coolant oil wastewater treatment. Furthermore, removal efficiency of COD, BOD, and TSS under this condition of modified Fenton process was 47.31, 53.34 and 74.96 %, respectively. Thus, sludge from modified Fenton treatment could be reused as Fenton catalyst one more time with almost no different in COD removal efficiency. Furthermore, result from comparison of modified Fenton and conventional Fenton showed that modified Fenton provided 28 % higher efficiency of COD removal than another and require less operating cost than conventional Fenton about 340 THB/m3-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1159-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationEnvironmental Science-
dc.titleการบำบัดน้ำมันหล่อเย็นใช้แล้วด้วยกระบวนการเฟนตันประยุกต์โดยใช้ของเสียจากอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์-
dc.title.alternativeTreatment of used coolant oil via modified fenton reaction using waste from auto parts manufacturing-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1159-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5987167820.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.