Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65518
Title: การศึกษาการจัดการเรียนการสอนวาดภาพระบายสี ในระดับชั้นประถมศึกษา ที่ใช้แนวทางการศึกษาวอลดอร์ฟ
Other Titles: Study of instructional management of drawing and painting in elementary school level based on Waldorf approach
Authors: ดุสิดา เหลือจันทร์
Advisors: อำไพ ตีรณสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การวาดเขียน -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การสอนแบบวอลดอร์ฟ
Art -- Study and teaching (Elementary)
Waldorf method of education
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนวาดภาพระบายสี ในระดับชั้นประถมศึกษา ที่ใช้แนวการศึกษาวอลดอร์ฟ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารงานวิชาการ จำนวน 2 คน ผู้สอนในระดับ ประถมศึกษา จำนวน 9 คน จากโรงเรียนที่จัดการศึกษาแนววอลดอร์ฟ และผู้เชี่ยวชาญในการเรียนการสอนตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟที่เป็นผู้เผยแพร่ความรู้ให้กับโรงเรียนแนววอลดอร์ฟในประเทศไทย จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละ ค่าความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า การจัดการเรียนการสอนวาดภาพระบายสี ในระดับชั้นประถมศึกษาที่ใช้แนวการศึกษาวอลคอร์ฟ ผู้บริหาร ครู และผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ในการจัดการเรียนการสอนวาดภาพระบายสี ที่เป็นไปตามแนวปรัชญาการศึกษาวอลดอร์ฟ แบ่งได้เป็น 8 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านผู้สอน มีการสร้างความเข้าใจร่วมกันในแนวการศึกษาวอลดอร์ฟทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ศึกษาด้วยตนเองจากหนังสือ ตำรา หน้าที่และบทบาทสำคัญของผู้สอนคือประจำชั้นประถม1 เลื่อนชั้นเรียนตามผู้เรียนถึงประถม 6 2 ) ด้านผู้เรียน มุ่งเน้นพัฒนาการผู้เรียนด้านจิตใจความละเอียด อ่อน และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนโดยให้มีประสบการณ์ปฏิบัติงานศิลปะด้วยตนเองทุกขั้นตอน 3) ด้านหลักสูตรเนื้อหา มีการดำเนิน การจัดทำโดยศึกษาหลักการพื้นฐานจากหลักสูตรวอลดอร์ฟ หลักสูตรโรงเรียนวอลดอร์ฟต่างประเทศ และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกัน จัดทำหลักสูตรบูรณาการแบบสหวิทยาการ เนื้อหาทุกรายวิชาเชื่อมผสานกัน โดยจัดกิจกรรมวาดภาพระบายสีเป็น3 ลักษณะคือ การระบายสีน้ำ การวาดรูปทรง และการวาดภาพประกอบบทเรียน เนื้อหาการเรียนที่ใช้เป็นนิทาน และเรื่องราวที่ให้จินตนาการไม่เน้นหลักการทางศิลปะ และนำเนื้อหาบางส่วนในรายวิชาอื่น ๆ มาใช้ในการวาดภาพ 4) ด้านจุดประสงค์การเรียนการสอน เป็นการบูรณาการศิลปะในการเรียนในส่วนของการวาดภาพประกอบบทเรียน เป็นการรับรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับสีในส่วนของการระบายสีน้ำ และเป็นพื้นฐานการเขียน การเคลื่อนไหวร่างกายในส่วนของการวาดรูปทรง 5) ด้านวิธีการสอน ใช้วิธีการสอนแบบสาธิตอธิบาย แนะนำ การสอนกึ่งเล่นโดยการเคลื่อนไหวร่างกาย หลักการสอนวาดภาพเป็นแบบไม่มีเน้นร่างแต่ลงสีเป็นรูป ภาพขึ้นทีละน้อย 6) ด้านสื่อการสอน ใช้วัสดุจากธรรมชาติ และสื่อทางนามธรรมเรื่องราว นิทาน หัวข้อ เพื่อช่วยในการถ่ายทอดภาพ มีการกำหนดประเภทวัสดุอุปกรณ์การระบายสีเพื่อให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เรียน 7) ด้านการวัดและประเมินผล ใช้การสังเกตจากพฤติกรรม และการวิเคราะห์ผลงาน ประเมินในรูปแบบบรรยายพัฒนาการที่เกิดครอบคลุมในด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ สังคม ที่พัฒนาขึ้นตามมนุษย์ปรัชญาวอลดอร์ฟ 8) ด้านสิ่งแวดล้อมทางการเรียน จัดตามหลักการศึกษาวอลดอร์ฟ แสดงออกในเรื่องการให้สีและแสงในห้องเรียน การจัดที่นั่งเรียน การตกแต่งวัสดุธรรมชาติ การจัดแสดงผลงานศิลปะในห้องเรียน ผลการสังเกตการเรียนการสอนในชั้นเรียน พบว่า การวาดภาพระบายสีปรากฎอยู่ในการเรียนประจำวัน และการเรียนควบคู่ไปกับทุกวิชา เนื้อหาที่ใช้เป็นนิทานที่แตกต่างตามวัย และสื่อได้ถึงเรื่องของสี และเน้น เป็นการเรียน อย่างมีชีวิตชีวา มีการจัดสื่อการสอน วัสดุอุปกรณ์การทำงาน และสภาพแวดล้อมโดยพิจารณาให้สอดคล้องกับพัฒนาการ ผู้เรียนเป็นสำคัญ
Other Abstract: The purpose of this research was to study instructional management of drawing and painting in elementary school level based on Waldorf approach. The population in this research composed of two administrators and nine teachers in Waldorf approached in elementary schools and five Waldorf approach specialists. The instrument in the research were constructed by the researcher which included interview and observation. The data were analyzed by means of percentage, frequency and text analysis. It was found that all the groups of the participants expressed their opinions in the same direction in all aspects as follows. 1) The teacher: shared the common understandings about Waldorf approach both in theory and in practice; studied from textbooks; had responsibility as classroom teacher and followed the same group of children from grade one to six, 2) The learners: focused on children development and sensitivity in mind, and allowed children to participate in making decisions in all instruction stages with the emphasis on children direct experience, 3) Curriculum and content: planned education in accordance with fundamental concepts in Waldorf approach, curricular in Waldorf approach schools abroad, and National basic education curriculum; planned the integrated curriculum: in terms of drawing and painting activities included 3 types: water color painting, form drawing and drawing for supplement school lessons, content in lessons included fairly tales and stories to stimulate imagination; art principles were not taught directly, 4) Objective: integrated art in school lesson by and drawing for supplement school lessons; provided direct experience about color by water color painting, and learned body movement by form drawing, 5) Teaching method: used demonstration, explanation, and guiding; mixed teaching with play by means of body movement; taught-drawing and painting by adding up colors and details with out sketching, 6) Teaching media: used natural objects; used fairly tales and topics as media for abstract concepts to encourage expression; selected drawing and painting materials and tools in accordance with children readiness, 7) Evaluation: used behavior observation and art work analysis; covered development in all domains in Waldorf approach, and 8) Learning environment: organized in accordance with Waldorf approach by using colors and lighting; set seating arrangement suitable for each child’s characteristics; decorated the room with natural objects; and set artwork exhibition in the classroom. From classroom observation, it was found that drawing and painting was included in daily lessons and incorporated with all lessons; lesson contents were carried out by fairly tales suitable to each age level in which the details could reflect colors and lines; learning was lively; and teaching media and materials and environment were carefully planned by considering the learner development.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65518
ISBN: 9741757328
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Dusida_lh_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ824.97 kBAdobe PDFView/Open
Dusida_lh_ch1_p.pdfบทที่ 1844.01 kBAdobe PDFView/Open
Dusida_lh_ch2_p.pdfบทที่ 22.36 MBAdobe PDFView/Open
Dusida_lh_ch3_p.pdfบทที่ 3744.38 kBAdobe PDFView/Open
Dusida_lh_ch4_p.pdfบทที่ 42.89 MBAdobe PDFView/Open
Dusida_lh_ch5_p.pdfบทที่ 51.66 MBAdobe PDFView/Open
Dusida_lh_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.