Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65623
Title: ผลของการเสริมสาหร่ายมงกุฎหนาม (Acanthophora spicifera) ต่อการเพิ่มสีในปลาการ์ตูนมะเขือเทศ (Amphiprion frenatus)
Other Titles: Effects of Acanthophora spicifera in pigmentation of tomato clownfish (Amphiprion frenatus) (Brevoort, 1856)
Authors: ครองขวัญ วรางค์รัตน์
Advisors: กรณ์รวี เอี่ยมสมบูรณ์
วีรกิจ จรเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการเสริมสาหร่ายมงกุฎหนาม (Acanthophora spicifera) ในอาหารต่อการเพิ่มสีใน ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ (Amphiprion frenatus) ทดลองในตู้กระจกขนาด 22x25.5x52.5 เซนติเมตร แบ่งเป็น 4 ชุดการทดลอง ชุดละ 3 ซ้ำ ให้อาหารทดลองที่ไม่มีส่วนผสมของสาหร่ายมงกุฎหนาม (สูตรควบคุม) และอาหารทดลองที่มีส่วนผสมของสาหร่ายมงกุฎหนามในปริมาณ 2 และ 4 เปอร์เซ็นต์ และอาหารทดลองที่ เสริมแอสตาแซนทิน (Astaxanthin) 0.05 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เวลา 7 วัน วัดการเปลี่ยนแปลงของสีด้วย เครื่องวัดสี (Spectroradiometer, Konika Minota color reader CS-2000) โดยวัดสีส้มบริเวณกลางลำตัว อ่านค่าในระบบ CIE L*a*b* (CIELAB) พบว่าในช่วง 7 วัน ปลาการ์ตูนมะเขือเทศที่ได้รับอาหารเสริมสาหร่าย มงกุฎหนามในปริมาณ 2 และ 4 เปอร์เซ็นต์ มีการตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของสีแดง (a*) มากกว่าปลาการ์ตูน มะเขือเทศกลุ่มควบคุม จากการทดลองครั้งนี้ สรุปได้ว่าสามารถใช้สาหร่ายมงกุฎหนามเพิ่มความเข้มสีในปลา การ์ตูนมะเขือเทศโดยไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลา
Other Abstract: Study on the effect of Acanthophora spicifera on pigmentation of tomato clownfish (Amphiprion frenatus) were raised in 22x25.5x52.5 cm glass aquaria for 7 days. The experiment had 4 treatments (diet 1-4) with 3 replication. These were the control diet that A. spicifera (red algae) was not added and the diets that contained A. spicifera at 2 and 4 percent, and diet contained astaxanthin at 0.05 percent. Color of fish was monitored directly on orange color part of fish body by spectroradiometer (Konika Minota color reader CS-2000). Color reading system using in this experiment was CIE system, L*a*b (CIELAB). From CIE color monitoring system, fish were fed with diet contain A. spicifera at 2 and 4 percent diet showed increasing of red color (a*value) than fish fed diet 1. From this experiment, it can be concluded that feeding tomato clownfish with 2-4% of A. spicifera was improve fish color without any impact on growth.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65623
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Krongkwan Va_Se_2561.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.