Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65975
Title: การศึกษาการจัดงานนิเทศด้านวิชาการในโรงเรียนเอกชน ในโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
Other Titles: Study of the academic supervision organization of private schools joining the learning refrom schools for developing quality of learners project, the Office of the National Education Commission
Authors: พนมพร สุนิลหงษ์
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. โครงการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
การนิเทศการศึกษา
โรงเรียนเอกชน
Supervised study
Private schools
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดงานนิเทศด้านวิชางานในโรงเรียนเอกชนในโครงการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ประชากร คือ คณะกรรมการนิเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างและแบบศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนเอกชนในโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมีการเตรียมการจัดงานนิเทศด้านวิชาการโดยมีผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการ และคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ เป็นผู้รับผิดชอบ วิธีการเตรียมการใช้การประชุมปรึกษาหารือกับครูในการจัดทำแผนงานกิจกรรม/โครงการ ซึ่งได้ศึกษาข้อมูลจากการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมาประกอบกับสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการของครูเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนและความต้องการการของชุมชน ซึ่งใช้เวลาจัดเตรียมในช่วงที่ปิดภาคเรียนที่ 2 โดยใช้กิจกรรมนิเทศการศึกษาหลากหลายวิธีเพื่อให้ครูได้รับความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานด้านวิชาการ มีการติดตามประเมินผลจากการประชุมสอบถามสภาพและปัญหาเป็นระยะ ๆ การตรวจผลงาน การเยี่ยมเยียนระหว่างการปฏิบัติงาน รายงานสรุปผลกิจกรรม/โครงการ พฤติกรรมการปฏิบัติงานของครูเพื่อนำผลประเมินไปปรับปรุงการปฏิบัติงานที่มีปัญหาและพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การประเมินผล มีการประเมินผลการเตรียมการโดยพิจารณาจากผลการดำเนินการกิจกรรม/โครงการเป็นไปตามปฏิทินปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ และมีการประเมินผลการดำเนินการโดยพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ตามวัตอุประสงค์ของกิจกรรม/โครงการเป็นหลัก ปัญหาการจัดงานนิเทศด้านวิชาการส่วนใหญ่พบว่า ครูไม่ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้เนื่องจากไม่มีความมั่นใจว่านักเรียนจะเกิดสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน ปริมาณสื่อการเรียนการสอนและหนังสือสำหรับค้นคว้าในห้องสมุดมีจำนวนไม่เพียงพอ ซึ่งโรงเรียนได้แด้ไขปัญหาด้วยการประชุมชี้แจง ให้ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน จัดให้ครูร่วมกันคิดและผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยกันและการจัดสรรงบประมาณเพิ่ม
Other Abstract: The purpose of this research was to study state and problems of the academic supervision organization of private schools jo in in g the Learning Reform Schools for Developing Quality of Learners Project, the Office of National Commission. The subjects include the school educational supervision committees. The data were collected through interviewing and documentation. Data were in twelve private schools jo in in g the project analyzed by using content analysis techniques. Research findings were as follows : In every school an educational supervision plan were formulated by school educational supervision committees which composed of school principal, assistant principal in academic affairs, and school educational committee members. Meetings were organized for plans formulation by which data on schools past records, state, problems and teachers’ needs were studied together with school policies. These activities were organized during the second semester break. Supervisory techniques and skills were applied during meetings to enhance the teachers’ understanding regarding academic performances. The monitoring and evaluation were employed through meetings, performance observations, visitations and reports by which at the preparation stage they were evaluated against the plan and at the implementation stage they were evaluated against the objectives of the project. Problems founded were teachers did not perform according to planned due to the uncertainty of the results, insufficient amount of textbooks and instructional medias. They were solved through meetings, instructional medias production among teachers, and budget allocation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65975
ISBN: 9740311237
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panomporn_su_front_p.pdf788.87 kBAdobe PDFView/Open
Panomporn_su_ch1_p.pdf865.2 kBAdobe PDFView/Open
Panomporn_su_ch2_p.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Panomporn_su_ch3_p.pdf634.89 kBAdobe PDFView/Open
Panomporn_su_ch4_p.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open
Panomporn_su_ch5_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Panomporn_su_back_p.pdf990.09 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.