Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66032
Title: โพรไบโอติก Bacillus subtilis BP11 สำหรับเสริมในอาหารเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพื่อป้องกัน Vibrio harveyi
Other Titles: Probiotic Bacillus subtilis BP11 for supplementation in black tiger shrimp feed for prevention from Vibrio harveyi
Authors: ศิริเพ็ญ สังข์ชัย
Advisors: ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: กุ้งกุลาดำ -- การเลี้ยง
โพรไบโอติก
Penaeus monodon
Probiotics
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การแจงนับแบคทีเรียจากทางเดินอาหารของแม่พันธุกุ้งกุลาดำ พบปริมาณแบคทีเรียรวม 8.5X103 - 5.9x107CFU/กรัมลำไส้ เมื่อใช้อาหารจำเพาะตรวจพบ Vibrio sp. 3x10 - 1.31x102CFU/กรัมลำไส้ และ Bacillus sp. 8.5x103CFU/กรัมลำไส้ Bacillus spp. ทั้ง 3 ไอโซเลตที่แยกได้กล่าวคือ Bacillus P1, Bacillus P2 และ Bacillus P11 สามารถยับยั้งการเจริญของ Vibrio harveyi 639 และ Escherichia coli เมื่อนำแต่ละไอโซเลตมาผสมในอาหารเลี้ยงกุ้งในอัตราส่วน 2.0 % (น้ำหนัก/น้ำหนัก) และใช้เลี้ยงกุ้งกุลาดำ PL25 ในดู้กระจกขนาด 20 ลิตร เป็นเวลา 100 วันและซักนำให้เกิดโรคด้วย V. harveyi 1526 พบว่ากุ้งในกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารผสม Bacillus P11 มีการเจริญเติบโตและต้านทานโรคได้ดีกว่ากุ้งในกลุ่มอื่น ๆ การพิสูจน์เอกลักษณ์ของ Bacillus P11 ด้วยวิธีทางชีวเคมีและการหาลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA จัดเป็น Bacillus subtilis โดยมีความเหมือนกับลำดับนิวคลีโอไทด์ บริเวณ 16S rDNA ของ Bacillus subtilis ที่มีรายงานไว้ใน GenBank 99 เปอร์เซ็นต์ การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ PL25 ด้วยอาหารผสม Bacillus P11 ในบ่อปูนซีเมนต์ขนาด 400 ลิตร เป็นเวลา 100 วัน (2 ครั้ง) พบว่ากุ้งในกลุ่มที่ เลี้ยงด้วยอาหารผสม Bacillus P11 มีการเจริญเติบโตดีกว่ากุ้งกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และสามารถพบเซลล์แบคทีเรียรูปแท่งคล้าย Bacillus ที่บริเวณผนังลำไส้ของกุ้งในกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารผสม BacillusP11 ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เมื่อนำกุ้งที่เลี้ยงครบ 100 วันมาชักนำให้เกิดโรคด้วย V. harveyi 639 พบว่ากุ้งในกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารผสม Bacillus P11 สามารถต้านทานโรคใด้ดีกว่ากุ้งในกลุ่มควบคุม กล่าวคือ กุ้งในกลุ่มควบคุมมีการตายสะสมมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์หลังจากชักนำให้เกิดโรคเป็นเวลา 4 และ 5 วันของการทดลองครั้งที่ 1 และ 2 ในขณะที่กุ้งในกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหาร Bacillus P11 มีการตายสะสมเพียง 28 เปอร์เซ็นต์และ 20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สามารถตรวจพบ V. harveyi 639 ในตับกุ้งที่ตายด้วยวิธี Immunohistochemistry ตรวจไม่พบสารปฏิชีวนะในส่วนใสที่ได้จากการเลี้ยง Bacillus P11 ด้วยวิธี Disk assay และ ชุดตรวจสอบสารปฏิชีวนะตกค้าง CM-Test และไม่พบสารปฏิชีวนะตกคางในเนื้อกุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารผสม Bacillus P11 ด้วยชุดตรวจสอบสารปฏิชีวนะตกค้างในอาหาร CM-Test การตรวจหาปริมาณ Bacillus P11 ที่ผสมในอาหารเลี้ยงกุ้งกุลาดำ พบ Bacillus P11 ~109 CFU/กรัม หลังจากเก็บอาหารเลี้ยงกุ้งที่ผสม Bacillus P11 ที่อุณหภูมิ 4 องศา เซลเซียสและอุณหภูมิห้อง เป็นเวลานาน 5 เดือน และพบ - 108CFU/กรัม ในเดือนที่ 6
Other Abstract: Total bacterial counts of Black tiger shrimp broodstocks's gastrointestinal tracts between 8.5x103 - 5.9x107 CFU/g were enumerated. Based on their growth on the selective media Vibrio spp. (3x10-1.31x102 CFU/g) and Bacillus spp. (8.5x103 CFU/g) were identified. Bacillus spp., designated as Bacillus P1 (BP1), Bacillus P2 (BP2) and Bacillus P11 (BP11) inhibited the growth of Escherichia coli and Vibrio harveyi in vitro were selected for shrimp culture tests. Each strain of the Bacillus was mixed into shrimp diet (2.0%w/w) and feeding shrimp three times a day in 20 litres aquarium. Starting from PL-25 for 2 months better growth of shrimps were detected in BP11 group with high survival of BP11 shrimp after being challenged with V. harveyi 1526 (107CFU/ml) by immersion technique. Larger scale of shrimp culture with BP11 were twice performed in 400 litres cement tanks for 100 days. It was found that growth and survival of shrimp fed with BP11 were higher than those of the control groups significantly at p<0.05. After 100 day all shrimp were challenged with 107CFU/ml of V. harveyi 639 by immersion technique, fifty percent of shrimp mortality was detected in the control groups in 4 and 5 days from first trial and second trial, respectively. Whereas 28% and 20% of moribund BP11-shrimp were found in first and second trial, consecutively. Confirmation of V. harveyi 639 infection on shrimp was performed by microbiological examination and immunohistochemical technique. Under scanning electron microscopic examination BP11 showed the adhesion on gastrointestinal tract’s surface of BP11 shrimp. BP11 was identified as Bacillus subtilis by biochemical tests and 16S rDNA sequencing (99% homology with 16S rDNA of B. subtilis, Gen Bank). No detection of antibiotic in supernatant of BP11 36 h -culture by Disk assay and CM-test. No antibiotic residue in BP11 shrimp by CM-test were assayed. BP11 viability in shrimp diet remained at ~109CFU/g for 5 months after storage at 4℃ and room temperature and decreased to ~108CFU/g after 6 months.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66032
ISBN: 9741751605
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siripen_sa_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ904.34 kBAdobe PDFView/Open
Siripen_sa_ch1_p.pdfบทที่ 1673.3 kBAdobe PDFView/Open
Siripen_sa_ch2_p.pdfบทที่ 21.17 MBAdobe PDFView/Open
Siripen_sa_ch3_p.pdfบทที่ 31.07 MBAdobe PDFView/Open
Siripen_sa_ch4_p.pdfบทที่ 42.49 MBAdobe PDFView/Open
Siripen_sa_ch5_p.pdfบทที่ 5823.77 kBAdobe PDFView/Open
Siripen_sa_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.