Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66215
Title: การพัฒนาวิธีตรวจวัดโลหะนิกเกิลด้วยเทคนิคซีเคว็นเชียลอินเจ็กชันโวลแทมเมตรีโดยใช้ขั้วไฟฟ้าคาร์บอนพิมพ์สกรีน
Other Titles: Method development for determination of Ni(II) by sequential injection-voltammetry using screen-printed carbon electrode
Authors: กานต์ธีรา เอี่ยมใส
Advisors: สุชาดา จูอนุวัฒนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: คาร์บอนพิมพ์สกรีน
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้พัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณนิกเกิล (II) ด้วยซีเคว็นเชียลอินเจ็กชันร่วมกับเทคนิค ไซคลิกโวลแทมเมตรีโดยใช้ขั้วไฟฟ้าคาร์บอนพิมพ์สกรีน ได้ทดลองหาภาวะที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ปริมาณนิกเกิล (II) คือ ปริมาตรของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 1200 ไมโครลิตร อัตราการไหลของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 28 ไมโครลิตรต่อวินาที อัตราการเปลี่ยนศักย์ไฟฟ้า 0.100 โวลต์ต่อวินาที พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาณกับความเข้มข้นของนิกเกิล (II) มีความเป็นเส้นตรงในช่วง 1-30 ไมโครโมลาร์ โดยมีค่า R² เท่ากับ 0.9740 และ 0.9803 สำหรับสัญญาณแอโนดิกและสัญญาณแคโทดิกตามลำดับ มีค่าขีดจำกัดต่ำสุดของการตรวจวัดเท่ากับ 0.57 ไมโครโมลาร์ และ 0.55 ไมโครโมลาร์ เมื่อตรวจวัดด้วยสัญญาณแอโนดิกและสัญญาณแคโทดิกตามลำดับ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ที่ระดับความเข้มข้น 1 μM มีค่าเป็นร้อยละ 19.91 และ 40.87 สำหรับการตรวจวัดด้วยสัญญาณแอโนดิกและแคโทดิกตามลำดับ
Other Abstract: The method for the determination of nickel(II) by sequential injection analysis coupled with cyclic voltammetry using screen-printed carbon electrode has been developed. The experimental conditions were optimized under the optimal conditions, a volume of sodium hydroxide solution of 1200 μL, an injection flow rate of 28 μL/s and a CV potential scan rate of 0.100 V/s, it was found that the relationship between peak height and concentration of Ni(II) was linear in the range of 1-30 μM with R² of 0.9740 and 0.9803 for anodic peak current and cathodic peak current, respectively. The limits of detection were 0.57 μM and 0.55 μM and relative standard deviation were 19.91% and 40.87% for Ni(II) detection using anodic signal and cathodic signal, respectively.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66215
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2556_8.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.