Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66311
Title: การปนเปื้อนของอาหาร น้ำดื่ม และภาชนะ ในสถานสงเคราะห์เด็กกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: Contamination of food, drinking water and utensils in child care institutes, Bangkok Metropolis and Vicinity
Authors: ปิยะรัตน์ ภูมิโคก, 2523-
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: สุขาภิบาลอาหาร
การปนเปื้อนในอาหาร -- ไทย
น้ำดื่ม -- การปนเปื้อน
สถานสงเคราะห์เด็ก -- ไทย -- กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Food handling
Food contamination -- Thailand
Drinking water -- Contamination
Children -- Institutional care -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการปนเปื้อนของอาหาร (48 ตัวอย่าง) น้ำดื่ม (24 ตัวอย่าง) และภาชนะ (108 ตัวอย่าง) รวม 180 ตัวอย่าง ในสถานสงเคราะห์เด็ก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 6 แห่ง ได้ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2547 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2548 มีการเก็บข้อมูลจากการสังเกตสภาวะสุขาภิบาลอาหาร ตัวอย่างอาหาร น้ำดื่ม และภาชนะ นำมาตรวจแบคทีเรียตัวชี้วัด เพื่อประเมินคุณภาพของตัวอย่างที่ทำการตรวจ คือ Total Bacterial Count (TBC), Conforms และ Escherichai coli และเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคในทางเดินอาหาร ได้แก่ Staphylococcus aureus, Bacillus cereus, Salmonella spp. และ Vibrio parahaemolyticus โดยวิธี spread plate count, MPN (Most Probable Number) และวิเคราะห์แยกเชื้อด้วยการทดสอบปฏิกิริยาทางชีวเคมี ผลการศึกษาพบว่า ภาชนะมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่เกินมาตรฐานสูงที่สุด ร้อยละ 46.3 รองลงมาเป็นตัวอย่างน้ำดื่ม ร้อยละ 45.8 และตัวอย่างอาหาร ร้อยละ 37.5 พบจำนวนตัวอย่างอาหารที่มีการ ปนเปื้อน TBC, Conforms, E. coli, S. aureus และ B. cereus คิดเป็นร้อยละ 33.3, 38.9, 38.9, 16.7 และ 83.3 ตามลำดับ ส่วนตัวอย่างน้ำดื่ม มีการปนเปื้อนแบคทีเรียในปริมาณที่เกินมาตรฐาน คือ TBC ร้อยละ 90.9 และ Conforms ร้อยละ 27.3 และตัวอย่างภาชนะ ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ TBC ในปริมาณที่เกินมาตรฐาน ร้อยละ 46.3 ไม่พบเชอแบคทีเรียทีก่อโรคในทางเดินอาหาร ได้แก่ Salmonella spp. และ V. parahaemolyticus ในทุกตัวอย่าง พบว่า จำนวนตัวอย่างภาชนะที่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนในปริมาณที่เกินมาตรฐาน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับช่วงเวลาอาหาร, กลุ่มผู้ล้างทำความสะอาด, เกณฑ์สุขลักษณะในการล้างทำความสะอาด, การใช้ถังขยะที่ไม่รั่วซึมและมีฝาปิด และห้องน้ำห้องส้วมที่สะอาดและไม่มีกลิ่น จากผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลสนับสนุนให้ผู้เกี่ยวข้องตระหนักถึงความปลอดภัยของการสุขาภิบาลอาหาร และเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพอาหาร น้ำดื่ม และภาชนะในสถานสงเคราะห์เด็กให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กกลุ่มดังกล่าว และ เป็นประโยชน์ในการวางแผน การดำเนินงาน เพื่อการป้องกัน แก้ไข และส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชนต่อไป
Other Abstract: The study of the microbiological contamination of food, drinking water and utensil samples were carried out in 6 child care institutes, Bangkok Metropolis and Vicinity during October 2004 and February 2005 on 180 samples. The observations of the food sanitation conditions were also included. Food, drinking water and utensil samples were tested for microbiological indicators such as total bacterial count (TBC), coliforms, Escherichia coli and enteropathogens (Staphylococcus aureus, Bacillus cereus, Salmonella spp. And Vibrio parahaemolyticus) by spread plate count method, MPN (Most Probable Number) method and pathogens were identified by biochemical tests. This study shows that the hygiene quality of food, drinking water and utensil samples were below the microbiology standard level for 37.5%, 45.8% and 46.3%, respectively. In the food samples tested, total bacterial count, coliforms, E. coli, S. aureus and B. cereus were below the microbiological standard level for 33.3%, 38.9%, 38.9%, 16.7% and 83.3%, respectively. For drinking water samples, the bacterial quantity of TBC and coliforms were below the microbiological standard level for 90.9% and 27.3%, respectively. For utensil samples, the bacterial quantity of TBC were below the microbiological standard level in 46.3% of samples. Salmonella spp. And V. parahaemolyticus were not found in any of the tested samples. The utensil samples below the microbiological standard level showed statistically significant (p<0.05) for breakfast, lunch and dinner, group of utensil cleaner, group of sanitation conditions, sanitation of trash cans and the clean toilets. The data of study can help the stakeholder make child care institutes more safe in quality of food, drinking water and utensils. Planning and evaluation can increase the protection of children's health and promote other health programs for children.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66311
ISSN: 9745312363
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyarat_ph_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ932.3 kBAdobe PDFView/Open
Piyarat_ph_ch1_p.pdfบทที่ 1867.7 kBAdobe PDFView/Open
Piyarat_ph_ch2_p.pdfบทที่ 21.7 MBAdobe PDFView/Open
Piyarat_ph_ch3_p.pdfบทที่ 3955.33 kBAdobe PDFView/Open
Piyarat_ph_ch4_p.pdfบทที่ 41.61 MBAdobe PDFView/Open
Piyarat_ph_ch5_p.pdfบทที่ 51.46 MBAdobe PDFView/Open
Piyarat_ph_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.