Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66550
Title: | ปัญหากฎหมายลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์ |
Other Titles: | Legal problems of copyright on thesis |
Authors: | สุพจน์ คงธนโฆษิตกุล |
Advisors: | อรพรรณ พนัสพัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ลิขสิทธิ์ -- วิทยานิพนธ์ ลิขสิทธิ์ Copyright -- Dissertations, Academic Copyright |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ คือ งานสร้างสรรค์ของผู้สร้างสรรค์ที่จะต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความอุตสาหะ พากเพียร และเงินทุนจำนวนมาก เพื่อก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ ปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์ของประเทศไทย นั้น ยังคงเป็น ปัญหาที่ไม่สามารถหาข้อยุติและยังเป็นที่ถกเถียงกันท่ามกลางนักกฎหมายหลายท่าน ว่า บุคคลใดสมควร ที่จะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์ ระหว่างนิสิตนักศึกษากับทางมหาวิทยาลัย ซึ่งปัญหาดังกล่าวยัง คงไม่สามารถหาบทสรุปที่แน่นอนได้ ดังนั้น จึงมีความเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาเพื่อทำ การศึกษาและวิจัย การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ต้องการที่จะหาคำตอบว่า ใครสมควรเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ในวิทยานิพนธ์ โดยจะทำการศึกษาตามแนวทางของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 , กฎหมาย ลิขสิทธิ์ของต่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง และทำการ ศึกษาเปรียบเทียบกับ กฎระเบียบ และขั้นตอนในการจัดทำวิทยานิพนธ์ในหลายประเทศ เพื่อที่จะทำการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับ ความ เป็นเจ้าของวิทยานิพนธ์ ว่าในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการวางหลักในการให้ความคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ ไว้อย่างถูกต้องและเพียงพอแล้ว หรือไม่ จากการศึกษาวิจัยพบว่า เมื่อทำการพิจารณาจากกระบวนการและธรรมชาติของงานวิทยานิพนธ์ ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศแล้ว จะพบว่า นิสิตนักศึกษาต้องจัดทำวิทยานิพนธ์ทั้งหมด ด้วยตนเองตามหลักสูตรที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด ดังนั้น ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์ จึง สมควรตกเป็นของนิสิตนักศึกษา นิสิตนักศึกษาควรจะมีสิทธิในฐานะของจ้าของลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 แต่อย่างไรก็ตามกรณีวิทยานิพนธ์ที่มีที่มาจากโครงการวิจัยนั้นโดยส่วนใหญ่มักจะมี การสร้างสรรค์ขึ้นด้วยเงินทุน เครื่องมือ เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆที่ทางมหาวิทยาลัยจัด ให้ กรณีดังกล่าว ลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์สมควรที่จะต้องตกเป็นของมหาวิทยาลัยและนิสิตนักศึกษาร่วมกัน |
Other Abstract: | Thesis is a creative work of the author that needs an identical talent persistency, endeavor and many resources to create a work that benefit society. At the present time. The problem concerning the ownership of copyright on the thesis works in Thailand as between the student and the University, has no definite problem and is an issue commonly discussed among lawyers. Various reasons are asserted according to either the opinion that the thesis belongs to the University, or alternately the student however, it's still can't find certain conclusion about this problem. So it's necessary to raise this problem to research. The objective of this study is to find the answer who is the copyright owner on the thesis by studying Thai Copyright Act B.E.2537 Foreign Copyright Laws and other related laws as well as comparision with regulation and procedure of thesis management in several countries so as to analyze whether the existing problem about the ownership of the thesis has provided adequate protection for the author or not. From the study revealed that according to the procedures of thesis management and the nature of thesis work in several Universities in and out of countries as stipulated by the curriculum, the student himself was charged with management all pant of the thesis Therefore. The conclusion of this problem is that the copyright ownership of the thesis works shall belong to the student. The student should have the right as a copyright owner according to the copyright Act of Thailand B.E. 2537. However if the thesis research is performed in whole or in part utilizing equipment or facilities or funds provided by the university under conditions that impose copyright restrictions in this case the copyright on thesis should belong to the university and the student. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66550 |
ISBN: | 9741734492 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supoj_ko_front_p.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supoj_ko_ch1_p.pdf | 944.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supoj_ko_ch2_p.pdf | 2.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supoj_ko_ch3_p.pdf | 2.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supoj_ko_ch4_p.pdf | 3.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supoj_ko_ch5_p.pdf | 3.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supoj_ko_ch6_p.pdf | 2.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supoj_ko_ch7_p.pdf | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supoj_ko_back_p.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.