Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66570
Title: การจัดตารางเวลาเดินรถหัวลากและการวางตำแหน่งตู้สินค้าพ่วง ภายใต้ปฏิบัติการแบบ "เกี่ยวและถอด"
Other Titles: Tractor scheduling and trailer repositioning under hook-and-drop operation
Authors: บริสุทธิ์ เจริญเวียงเวชกิจ
Advisors: สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การขนส่งสินค้า
การบริหารงานโลจิสติกส์
การขนส่ง
ระบบขนส่งคอนเทนเนอร์
Commercial products -- Transportation
Business logistics
Transportation
Containerization
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมแบบจำลองการจัดตารางเวลาเดินรถขนส่งสินค้าประเภทรถบรรทุกกึ่งพ่วง ซึ่งประกอบด้วยรถหัวลากและตู้สินค้าพ่วงในการปฏิบัติการแบบ"เกี่ยวและถอด" สำหรับผู้ประกอบการขนส่งสินค้ารายหนึ่งซึ่งทำการขนส่งสินค้าจากโรงงานหลายๆ แห่งมายังคลังสินค้า 2 แห่งในเขต กทม. และปริมณฑลให้กับลูกค้าซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อช่วยให้การจัดตารางเวลามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการช่วยตัดสินใจในการจัดวางตู้สินค้าพ่วงเพื่อลดเวลารอคอยในกรณีที่รถหัวลากเข้ามาถึงโรงงานหรือคลังสินค้าในเวลาไล่เลี่ยกัน ทำให้การใช้ทรัพยากรมีความคุ้มค่ามากที่สุด แบบจำลองจะทำการจัดตารางเวลาเดินรถโดยใช้วิธีการค้นหาคำตอบแบบข้อห้ามเพื่อหาตารางเวลาที่ดีที่สุด โดยมีฟังก์ชันวัตถุประสงค์คือจำนวนงานค้างส่งน้อยที่สุด จากนั้นจึงจัดวางตู้สินค้าพ่วงเพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพตารางให้ดีขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานจริงพบว่าการจัดตารางเวลาเดินรถหัวลากแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการปฏิบัติงานจริง และในส่วนการจัดวางตู้สินค้าพ่วงพบว่า การจัดวางตู้สินค้าพ่วงภายใต้ปฏิบัติการแบบ "เกี่ยวและถอด" สามารถช่วยลดเวลารอคอยของรถหัวลากได้ ส่งผลให้คุณภาพของตารางเวลาโดยรวมดีขึ้น
Other Abstract: The objective of this study is to develop a computerized system for scheduling the operation of tractors and trailers under the hook-and-drop operation. The system covers the operation of a selected motor carrier which provides services to move goods from a number of factories to two warehouses in the Greater Bangkok Area of a consumer-goods manufacturer. The system would serve as a container repositioning decision support system that would produce efficient tractor-trailer schedules. The system applies the so-called "Tabu Search" to determine the schedule that results in the smallest number of pending jobs and then attempt to further waiting times. Comparing the schedules as proposed by the systems with those determined manually using the real-life data indicates that the model has generated more efficient schedules with respect to tractor utilization. The results also show that the implementation of the hook and drop operation can improve the overall quality of schedules.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66570
ISSN: 9741743327
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Borrisut_ch_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ939.41 kBAdobe PDFView/Open
Borrisut_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1834.58 kBAdobe PDFView/Open
Borrisut_ch_ch2_p.pdfบทที่ 21.25 MBAdobe PDFView/Open
Borrisut_ch_ch3_p.pdfบทที่ 31.38 MBAdobe PDFView/Open
Borrisut_ch_ch4_p.pdfบทที่ 43.28 MBAdobe PDFView/Open
Borrisut_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.44 MBAdobe PDFView/Open
Borrisut_ch_ch6_p.pdfบทที่ 6899.51 kBAdobe PDFView/Open
Borrisut_ch_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก654.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.