Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66718
Title: การหาปริมาณตะกั่วด้วยวิธีการสกัดระดับจุลภาคโดยใช้ Hollow fiber กับวิธีทางสเปกโตรโฟโตเมตรี
Other Titles: Determination of Pb2+ using hollow fiber membrane liquid-phase microextraction with spectrophotometric method
Authors: ณิชานันทน์ ตวงทอง
Advisors: ปกรณ์ วรานุศุภากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากโลหะตะกั่วเป็นโลหะที่มีความเป็นพิษสูงและอาจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ จึงได้มีการพัฒนาวิธีตรวจวัดหาปริมาณตะกั่วในแหล่งน้ำหรือที่ต่าง ๆ ซึ่งการวิเคราะห์จำเป็นต้องใช้ความเข้มข้นของ Pb2+ สูงแต่ปริมาณโลหะตะกั่วในธรรมชาติมีอยู่น้อยมาก จึงไม่สามารถตรวจวัดได้ ดังนั้น จึงต้องมีเทคนิคที่ใช้เพิ่มความเข้มข้นของ Pb2+ ให้สูงขึ้นก่อนจะนำไปตรวจวัดด้วยเทคนิควิเคราะห์ ซึ่งเทคนิคนี้คือ การสกัดระดับจุลภาคแบบสามวัฏภาคโดยใช้เมมเบรนเส้นใยกลวง โดยอันดับแรกมีการศึกษาหา chelating agent ที่เหมาะสมในการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับไอออนของตะกั่วเพื่อใช้ในการตรวจวัดด้วยเทคนิคทางสเปกโตรโฟโตเมตรี จากการศึกษาพบว่า 4-(2-pyridylazo)resorcinol (PAR) เป็น chelating agent ที่ดี ให้สีเมื่อจับกับไอออนของตะกั่วโดยต้องใช้บัฟเฟอร์ NH3-NH4Cl ในการควบคุม pH ให้มีค่าเท่ากับ 10 จากนั้นมีการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนดังกล่าว โดยตอนแรกศึกษาในปริมาตรมาก แต่ต่อมาศึกษาในปริมาตรน้อย เนื่องจากหลังการสกัดจะได้สารละลายรับที่มี Pb2+ อยู่ซึ่งมีปริมาตรน้อยมากและการจะนำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทางสเปกโตโฟโตเมตรีนั้นใช้ปริมาตรสารน้อยถึงระดับไมโครลิตร ซึ่งพบว่าสภาวะที่ Pb2+/HCl 0.01 M ผสมกับ PAR 0.03 % ในเอทานอล และบัฟเฟอร์ NH3-NH4Cl ที่จำเป็นต้องใช้ปริมาตรถึง 50 μL พบว่าบัฟเฟอร์มีความสำคัญในการปรับสภาวะให้ Pb2+-complex ได้สภาวะที่เหมาะสมที่สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณตะกั่วได้ หลังจากนำสภาวะดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับเทคนิคการสกัด พบว่าเทคนิคการสกัดนี้สามารถนำไปใช้ได้จริงในการเพิ่มความเข้มข้นของ Pb2+ ให้สูงขึ้นจากการที่ Pb2+-PAR complex ให้ค่าการดูดกลืนแสงสูงมากเมื่อนำไปตรวจวัด แม้จะเจือจางสารละลายตัวอย่างที่ใช้ในการสกัดไปถึง 10 50 และ 300 เท่า และอาจต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีกเกี่ยวกับตัวแปรหรือปัจจัยที่มีผลต่อการสกัด ดังนั้น เทคนิคการสกัดระดับจุลภาคแบบสามเฟสโดยใช้เมมเบรนเส้นใยกลวงร่วมกับเทคนิคทางสเปกโตรโฟโตเมตรีสามารถนำไปใช้ได้จริงในการสกัด Pb2+ ในน้ำหรือสารตัวอย่าง
Other Abstract: Since lead is a trace metal which has high toxic level and can cause terrible effects to human and animals, techniques to determine the amount of lead in reservoirs and nature have been developed. High concentration of lead is required for analysis but its quantity in nature is typically too posing a problem in analysis. Thus techniques that could increase the concentration of Pb2+ are important and one is called the three-phase hollow fiber liquid-phase microextraction (three-phase HF-LPME). In this project, chelating agents that could complex with Pb2+ ion were studied and 4-(2-pyridylazo)resorcinol (PAR) was found to be the most appropriate chelating agent for the complexation with Pb2+ ion when the NH3-NH4Cl buffer was used to control the pH. After studying to find the appropriate condition for the complexation of Pb2+-PAR complex in low volume, it was found that Pb2+/HCl mixed with PAR 0.03 % in ethanol and NH3-NH4Cl buffer (50 μL) were needed. Applying this condition with the three-phase HF-LPME, this extraction of Pb2+ was successful and gave Pb2+ in higher concentration. Despite the dilution of 10, 50 and 300 times in preparing the Pb2+ sample solution, the absorbance detected was still high. Thus it must be studied further. It was concluded that three-phase HF-LPME was applicable for the preparation of Pb2+ sample solution to give higher concentration for use in the spectrophotometric method for quantitative analysis.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66718
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nichanun_Tu_Se_2558.pdf913.18 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.