Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66924
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปู่ย่าตายายและหลานตามการรับรู้ของปู่ย่าตายายในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Relationship between grandparents and grandchildren form the grandparents' perspective in the Bangkok Metropolis
Authors: หทัยรัตน์ ชัยยุทธภูมิ
Advisors: พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ครอบครัว -- ไทย
ผู้สูงอายุ -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว
การรับรู้
Domestic relations -- Thailand
Older people -- Domestic relations
Perception
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปู่ย่าตายายและหลานตามการรับรู้ของปู่ย่าตายายโดยกลุ่มตัวอย่างเป็นปู่ย่าตามยายจำนวน 174 คน ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้เป็นเพศชาย 86 คนและเพศหญิง 88 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการรับรู้บทบาทของปู่ย่าตายายและแบบวัดความสัมพันธ์ระหว่างปู่ย่าตายายและหลาน ซึ่งผู้วิจัยได้ปรับจากแบบสอบถามของ AARP (2000) สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ วิธีวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple regression) ด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบขั้นตอน (Stepwise) และวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (Two-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวแปร 1 ตัวแปรจาก 6 ตัวแปรสามารถอธิบายความแปรปรวนของคะแนนความสัมพันธ์ระหว่างปู่ย่าตายายและหลานได้ร้อยละ 41.3 คือ ตัวแปรการรับรู้บทบาทของปู่ย่าตายาย 2. กลุ่มที่รับรู้บทบาทของปู่ย่าตายายสูงมีคะแนนความสัมพันธ์ระหว่างปู่ย่าตายายและหลานสูงกว่ากลุ่มที่รับรู้บทบาทของปู่ย่าตายายต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ไม่พบปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างตัวแปรอายุและการรับรู้บทบาทของปู่ย่าตายายที่ส่งผลต่อคะแนนความสัมพันธ์ระหว่างปู่ย่าตายายและหลาน
Other Abstract: The purpose of the study was to study the relationship between grandparents and grandchildren from the grandparents' perspective. Participants were 174 (male = 86, female = 88) grandparents who lived in Bangkok Metropolis. The data were collected by using questionnaires: the personal data, the Perceived Role of Grandparent, and the Relationship between Grandparents and Grandchildren which the researcher modified from the AARP (2000). Then analyzed the data by stepwise multiple regression and two-way ANOVA. The results are as follows: 1. One variable from 6 variables accounts for 41.3% of the grandparents and grandchildren relationship scores. That is perceived role of grandparent. 2. The high perceived role of grandparent group has significantly better grandparents and grandchildren relationship scores than the low perceived role of grandparent one (p<.01). 3. No significant interaction between age and perceived role of grandparent has been found.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66924
ISBN: 9741419325
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Hathairat_ch_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ831.39 kBAdobe PDFView/Open
Hathairat_ch_ch1_p.pdfบทที่ 12.55 MBAdobe PDFView/Open
Hathairat_ch_ch2_p.pdfบทที่ 21.35 MBAdobe PDFView/Open
Hathairat_ch_ch3_p.pdfบทที่ 3886.85 kBAdobe PDFView/Open
Hathairat_ch_ch4_p.pdfบทที่ 4874.98 kBAdobe PDFView/Open
Hathairat_ch_ch5_p.pdfบทที่ 5744.18 kBAdobe PDFView/Open
Hathairat_ch_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.