Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6697
Title: | การวิเคราะห์วาทกรรมเรื่องตลกภาษาไทย |
Other Titles: | A discourse analysis of jokes in Thai |
Authors: | กาญจนา เจริญเกียรติบวร |
Advisors: | กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ภาษาไทย -- วจนะวิเคราะห์ |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องตลกภาษาไทยทั้งในด้านภาษาและนัยทางสังคม โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อศึกษาว่าเรื่องตลกภาษาไทยมีวิธีทางภาษาที่ก่อให้เกิดความตลกขบขันอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษาดังกล่าวกับเงื่อนไขความตลกที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของตัวบทและจะศึกษาด้วยว่าภาษาถูกใช้ในการนำเสนอกลุ่มคนในสังคมให้เป็นตัวตลกนั้นแฝงด้วยความเชื่อ อุดมการณ์ และ ความสัมพันธ์ทางอำนาจ อย่างไร ผลการวิจัยพบว่าเรื่องตลกภาษาไทยมีกลวิธีทางภาษาหลักๆ 2 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีการเล่นคำ และกลวิธีทางปริจเฉท กลวิธีการเล่นคำสามารถแบ่งย่อยได้เป็นอีก 3 กลวิธี ได้แก่ การเล่นคำที่ลวงให้เกิดการตีความผิด การเล่นคำที่ทำให้เกิดการตีความที่ต่างไปจากปกติ และการเล่นคำที่มีการตอกย้ำความกำกวมส่วนกลวิธีทางปริจเฉทแบ่งย่อยได้เป็น 6 กลวิธี ได้แก่ การทำให้หลงทาง การนำเสนอเหตุการณ์ที่เหนือความคาดหมาย การละเมิดธรรมเนียมปฏิบัติ การใช้มูลบทเป็นเครื่องมือ การประชด และการซ้อนมุข นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นด้วยว่าภาษามีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับสังคม กล่าวคือภาษาเป็นเครื่องมือทำให้คนหลายกลุ่มในสังคมไทยกลายเป็นตัวตลกในลักษณะต่างๆ ไม่ใช่การนำเสนอภาพของคนเหล่านั้นอย่างกลางๆ กลุ่มคนผู้มีอำนาจ เช่น นักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ ส่วนใหญ่ถูกนำเสนอให้เป็นคนขี้โกง โง่เขลา และพูดจาเชื่อถือไม่ได้ ขณะที่กลุ่มผู้ด้อยอำนาจ เช่น ชนกลุ่มน้อยและผู้หญิงก็ถูกนำเสนอเช่นกันว่าเป็นคนโง่ แต่มีลักษณะในรายละเอียดที่ต่างกันเล็กน้อย คือ ชนกลุ่มน้อยมักจะถูกนำเสนอว่าไร้ทักษะในการใช้ภาษาไทยมาตรฐานและไม่รู้จักเทคโนโลยีสมัยใหม่ ขณะที่ผู้หญิงมักถูกนำเสนอว่าด้อยสติปัญญา เป็นวัตถุทางเพศ และเป็นพวกวัตถุนิยม |
Other Abstract: | This dissertation concerns both the studies of linguistic and social aspects of jokes in Thai: it aims to study not only linguistic strategies that are used to provoke humor and their relations to the humor conditions that concern the joke text structure, but also now language, when used to represent social groups in Thai society as the butt of joke, conveys social beliefs, ideologies and power relations. The result of this study shows that jokes in Thai have two major linguistic strategies, namely punning strategies and discourse strategies. Punning strategies can be classified further into three types: punning that leads to misinterpretation, punning that causes absurd interpretation, and punning that reinforces ambiguity. Discourse strategies, on the other hand, can be classified into six types: garden path, presentation of expectation-beyond-events, violations of conventions, manipulation of presuppositions, irony, and meta-humor. These strategies, however, do not entirely conform to all the humor conditions, except the condition of meaning opposition. In addition, the result of the study shows that language has a close link to society: it is not neutrally used to represent social groups in Thai society, but to make fun many of them in various ways. The powerful people such as politicians and state officials are mainly represented as tricky, stupid, and doublespeak persons. The non-dominant groups such as ethnic minority and women are generally represented as stupid persons too, but in a slightly different way. The former is portrayed to have bad command of standard Thai and incapable in dealing with modern technology, whereas the latter is presented as people of low intellect, as sex object and being materialistic. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6697 |
ISBN: | 9741419503 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanjana_Ja.pdf | 6.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.