Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67011
Title: การปรับปรุงคันทางรถไฟที่ก่อสร้างด้วยดินกระจายตัว
Other Titles: Soil improvement on railway embankment constructed by dispersive soil
Authors: ปฎิเวช เหระยัง
Advisors: วันชัย เทพรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ทางรถไฟ
การก่อสร้าง
ดิน
คันทาง
Railroad rails
Building
Soils
Embankments
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ดินกระจายตัวจัดเป็นดินที่สร้างปัญหาให้กับงานด้านวิศวกรรมที่ต้องใช้ดินเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง โดยความเสียหายส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปการณ์เกิดรูโพรง ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการกัดเซาะภายในอนุภาคของดิน ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะพัดพาอนุภาคของดินจนกระทั่งเกิดรูโพรงขึ้น ซึ่งนำไปสู่การศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาการกระจายตัวของดินคันทางรถไฟ บริเวณริมอ่างเก็บน้ำลำตะคองจากสถานีคลองขนานจิตรมายังสถานีปากช่อง จ.นครราชสีมา มีปัญหาในด้านเสถียรภาพของคันทางรถไฟเนื่องจากคันทางได้ก่อสร้างกั้นรองรับน้ำที่ไหลมาจากบริเวณเชิงเขาก่อนไหลลงอ่างเก็บน้ำซึ่งส่งผลให้คันทางมีพฤติกรรมเช่นเดียวกับเขื่อนกั้นน้ำ โดยการก่อสร้างคันทางรถไฟได้นำดินจากบริเวณเชิงเขาใกล้เคียงซึ่งลักษณะดินดังจัดเป็นดินกระจายตัวเมื่อมีการกักเก็บน้ำก่อนไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำส่งผลให้เกิดการไหลซึมของน้ำและได้พาเอาเม็ดดิน ทำให้เกิดโพรงใต้คันทางและเกิดการยุบตัวลงของผิวคันทาง นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาโพรงใต้รางรถไฟเนื่องมาจากน้ำฝนชะล้างเม็ดดินใต้รางรถไฟ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวการรถไฟได้นำการก่อสร้างระบบ Jet Grouting เข้ามาแก้ไขปัญหาโดยทำการก่อสร้างกำแพงเสาเข็มซีเมนต์สองแถวต่อเนื่อง (Jet Grouting Wall) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.80 เมตร ตลอด 2 ข้างของคันทางรถไฟและก่อสร้างกำแพงทึบน้ำ (Slurry Wall) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.30 เมตร กั้นบริเวณแอ่งเชิงเขา ในส่วนการทดสอบคุณสมบัติของดินกระจายตัวที่ทำการเก็บตัวอย่างดิน และได้ทำการปรับปรุงคุณสมบัติกระจายตัวของดิน โดยทำการผสมตัวอย่างดินกับวัสดุผสมได้แก่ เถ้าลอยปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 และปูนขาว โดยได้ทำการทดสอบการกระจายตัวด้วยวิธี Double Hydrometer Test และ Pinhole Test พบว่าเมื่อทำการทดสอบโดยวิธี Double Hydrometer Test ดินจะเริ่มมีคุณสมบัติด้านการกระจายตัวที่ดีขึ้นเมื่อทำการผสมเถ้าลอย ปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 และปูนขาว ตั้งแต่อัตราส่วนโดยน้ำหนักที่ร้อยละ 5, 2 และ 2 ตามลำดับ และเมื่อทดสอบด้วยวิธี Pinhole Test ดินจะเริ่มมีคุณสมบัติด้านการกระจายตัวที่ดีขึ้นเมื่อทำการผสมเถ้าลอย ปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 และปูนขาว ตั้งแต่อัตราส่วนโดยน้ำหนักที่ร้อยละ 7.2 และ 3 ตามลำดับ
Other Abstract: Dispersive soil is identified as the troublesome constructed soil. The collapse is caused by a large cavity from internal erosion. This internal crosion create the failure and lead to improvement of dispersive soil of the railway embankment along Lamtaklong reservoir. Nakornratchasima province, from Klong Kananjit Sattion to Pakchong Station. Along this railway line, the embankment was constructed along the bank of reservoir and blocks the valley. Therefore, the railway embankment acts as the small dyke close the flow water from valley to the reservoir. The railway embankment was constructed by backfilling the material from borrow pit next to its embankment. This backfilled material was the dispersive soils. When water in the valley flows through the railway embankment, soil particle is also flows together. This lead to induce a big hole or cavity and cause the deformation of embankment. Some holes on the railway embankment was caused by surface rain erosion of the soil particle under railway embankment. For permanent improvement, the double jet grouting wall (2-Ф0.80.) system was constructed along both sides of the embankment, while the jet grouting slurry wall of 0.30 m. in diameter, was constructed in the valley area. The characteristic of dispersive and improvement was carried out by improving with stabilized agent such as fly ash, type 1 Portland cement and lime. The degree of dispersive was determined by means of double hydrometer test and pinhole test. The results of double hydrometer test on treated soil showed that the dispersive soil was changed to be stable by mixing with fly ash, type 1 Portland cement and lime of 5%, 2% and 2%, respectively. The results of pinhole tests on treated soil showed that the dispersive soil was changed to by stable by mixing with fly ash, type 1 Portland cement and lime of 7%, 2% and 3%, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67011
ISBN: 9745324159
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patiwed_ha_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.06 MBAdobe PDFView/Open
Patiwed_ha_ch1_p.pdfบทที่ 1907.15 kBAdobe PDFView/Open
Patiwed_ha_ch2_p.pdfบทที่ 23.31 MBAdobe PDFView/Open
Patiwed_ha_ch3_p.pdfบทที่ 32.43 MBAdobe PDFView/Open
Patiwed_ha_ch4_p.pdfบทที่ 41.79 MBAdobe PDFView/Open
Patiwed_ha_ch5_p.pdfบทที่ 5712.28 kBAdobe PDFView/Open
Patiwed_ha_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก687.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.