Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67039
Title: แบบจำลองและวิธีค้นหาเฉพาะแห่งขนาดใหญ่สำหรับปัญหาการจัดเส้นทางขนส่งสินค้าที่มีกรอบเวลา
Other Titles: Model and large scale neighbourhood search algorithms for vehicle routing problem with time-windows
Authors: กิตติโชติ ตันติภนา
Advisors: มาโนช โลหเตปานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถ
การกระจายสินค้าจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค
การขนส่งสินค้า -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
Vehicle routing problem
Physical distribution of goods
Commercial products -- Transportation -- Mathematical models
Mathematical models
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาการเดินรถเที่ยวเปล่าจัดเป็นปัญหาที่สำคัญในการวางแผนขนส่ง ระยะการเดินรถเที่ยวเปล่านี้สามารถลดลงได้ด้วยการควบรวมการขนส่งเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการเดินรถขนส่งสินค้าแบบกระจายสินค้าหลายจุด (Multi Drop Distribution) อย่างไรก็ดีการวางแผนการขนส่งสินค้าแบบกระจายสินค้าหลายจุดนั้นจะต้องมีการวางแผนการจัดส่งสินค้าที่ดี กล่าวคือ มีวิธีในการแก้ปัญหาการจัดเส้นทางการเดินรถ (vehicle Routing Problem) ที่มีประสิทธิภาพ การจัดเส้นทางการเดินรถชนิดมีกรอบเวลา คือการหาเส้นทางการเดินรถในการขนส่งสินค้าไปยังกลุ่มลูกค้าทั้งหมดที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดโดยลูกค้าแต่ละรายมีกรอบเวลาในการรับสินค้าที่ชัดเจน เส้นทางเดินรถขนส่งสินค้าจะต้องคำนึงถึงข้อจำกัดด้านกรอบเวลาและความจุของยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความยากของการจัดเส้นทางการเดินรถอีกประการหนึ่งคือมีข้อจำกัดจำนวนมากที่เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพการทำงานจริง ดังนั้นงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาการขนส่งสินค้าและสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยนำเสนอวิธีกำเนิดสดมภ์ที่เป็นวิธีการหาผลเฉลยที่ดีที่สุดและวิธีการค้นหาเฉพาะแห่งขนาดใหญ่เชิงความน่าจะเป็นวิธีฮิวริสติคที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาการจัดเส้นทางการเดินรถ สามารถหาผลเฉลยที่ดีได้ในระยะเวลาการประมวลที่เหมาะสม พิจารณาผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองพบว่า สามารถลดระยะทางการเดินรถเที่ยวเปล่าได้ประมาณร้อยละ 68 ถึง 72 ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ประมาณร้อยละ 42 เปรียบเทียบกับการขนส่งที่ไม่มีการจัดการการเดินเที่ยวเปล่า
Other Abstract: The problem of excessive empty haul is a major problem in transportation planning. One of the solutions is to combine trips together to form a multi drop distribution. However, multi drop distribution planning is complicated and has to be efficiently managed. The objective of the vehicle routing with time windows (VRPTW) is to determine a set of feasible routings for goods delivery to a set of customers within prescribed time windows while minimizing cost. The routes must also satisfy time windows, truck capacity, and other operational constraints. We present a column generation based exact algorithm and an improvement heuristics for the problem based on an extension of Large-scale Neighborhood Search (LNS) and probability theory. The proposed algorithm can find near-optimal solutions within reasonable amount of computation time. The analysis of the model' results indicate that the model can reduce the percentages of empty haul distance by approximately 68 percent to 72 percent comparing the truckload operation without empty haul management. Moreover, using the algorithm can reduce transportation cost by approximately 42 percent.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67039
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kittichot_ta_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ996.63 kBAdobe PDFView/Open
Kittichot_ta_ch1_p.pdfบทที่ 11.17 MBAdobe PDFView/Open
Kittichot_ta_ch2_p.pdfบทที่ 21.96 MBAdobe PDFView/Open
Kittichot_ta_ch3_p.pdfบทที่ 3714.68 kBAdobe PDFView/Open
Kittichot_ta_ch4_p.pdfบทที่ 41.15 MBAdobe PDFView/Open
Kittichot_ta_ch5_p.pdfบทที่ 51.65 MBAdobe PDFView/Open
Kittichot_ta_ch6_p.pdfบทที่ 62.16 MBAdobe PDFView/Open
Kittichot_ta_ch7_p.pdfบทที่ 7781.08 kBAdobe PDFView/Open
Kittichot_ta_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก962.88 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.