Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67359
Title: การศึกษาผลของการรบกวนแบบสตรูปต่อการบอกสีและการอ่านคำของผู้ใหญ่ตอนต้นและผู้สูงอายุ
Other Titles: A study of stroop interference effect on color naming and word reading of young adults and old ages
Authors: ธนัชญา เจริญชัยกรณ์
Advisors: ศิรางค์ ทับสายทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ความตั้งใจ
วัยผู้ใหญ่
ผู้สูงอายุ
การรับรู้ทางสายตา
จิตวิทยาพัฒนาการ
Attention
Adulthood
Older people
Visual perception
Developmental psychology
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการรบกวนแบบสตรูปต่อการบอกสีและ การอ่านคำของผู้ใหญ่ตอนต้นและผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน ประกอบด้วยผู้ใหญ่ตอนต้นอายุระหว่าง 22-30 ปี จำนวน 3 0 คน และผู้สูงอายุ อายุระหว่าง 62-70ปี จำนวน 30 คน แต่ละกลุ่มอายุแบ่งออกเป็นชายและหญิงจำนวนเท่ากัน แผ่นรายการที่ใช้ในการศึกษามีอยู่ 5 ประเภทคือ แผ่นรายการสี 1 ประเภท (CP) และแผ่นรายการคำ 4 ประเภท (CW UD BU และ BK) กลุ่มตัวอย่างได้รับการทดสอบเป็นรายบุคคล ในการทดสอบประกอบด้วยงานบอกสีและงานอ่านคำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางรูปแบบประลม (Two-way Analysis of Variance (Mixed Design)) ผลการวิจัยพบว่า ผลของการรบกวนแบบสตรูปทำให้ 1. ผู้สูงอายุใช้เวลาในการบอกสีและการอ่านคำในแต่ละประเภทของแผ่นรายการมาก กว่าผู้ใหญ่ตอนต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. เวลาที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการบอกสีจากแผ่นรายการ BK< CW และ UD และ BU< CW และ UD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เวลาที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการอ่านคำจากแผ่นรายการ BK > CW UD และ BU อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to study stroop interference effect on color naming and word reading of young adults and old ages. Sixty subjects comprised of thirty young adults (22-30) and thirty old ages (62-70) with equal number of males and females in each group. Five types of lists were used เท this study : one list of color patch (CP), and four lists of color word (CW, UD, BU, and BK). The subjects were tested เท color-naming and word reading task individually. Two-way Analysis of Variance (Mixed Design) was conducted for statistical analysis. The results are as follows : The stroop interference effect causes 1. the old ages to spend more time on color naming and word reading for each of the lists than young adults significantly (p <.05). 2. the time subjects spend on color naming BK< CW and UD and BU< CW and UD significantly (p C.05). 3. the time subjects spend on word reading BK > CW, UD, and BU significantly (pc.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67359
ISSN: Study of stroop interference effect on color naming and word reading of young adults and old ages ISBN 9741301847
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanutya_ch_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ743.78 kBAdobe PDFView/Open
Thanutya_ch_ch1_p.pdfบทที่ 11.35 MBAdobe PDFView/Open
Thanutya_ch_ch2_p.pdfบทที่ 2726.04 kBAdobe PDFView/Open
Thanutya_ch_ch3_p.pdfบทที่ 3804.79 kBAdobe PDFView/Open
Thanutya_ch_ch4_p.pdfบทที่ 4732.74 kBAdobe PDFView/Open
Thanutya_ch_ch5_p.pdfบทที่ 5640.74 kBAdobe PDFView/Open
Thanutya_ch_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก799.55 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.