Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/675
Title: | การยอมรับผู้กระทำผิดคดียาเสพติดกลับคืนสู่สังคม : ศึกษากรณีจังหวัดนครปฐม |
Other Titles: | Accepting reintegration of narcotics offenders into societies : a case study of Nakhon Pathom Province |
Authors: | กิตติคุณ บัวรุ่ง, 2520- |
Advisors: | จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การรับรู้ ยาเสพติดกับอาชญากรรม ยาเสพติด คนติดยาเสพติด |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่อยู่ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 300 ราย และจากการสัมภาษณ์ประชาชนในจังหวัดนครปฐม 10 ราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับผู้กระทำผิดคดียาเสพติดของคนในสังคมและเพื่อศึกษาสาเหตุการยอมรับและไม่ยอมรับผู้กระทำผิดคดียาเสพติดเข้าอยู่ร่วมในสังคม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ พบว่า ผู้กระทำผิดคดียาเสพติดเพศหญิงได้รับการยอมรับมากกว่าผู้กระทำผิดคดียาเสพติดเพศชาย ผู้กระทำผิดคดียาเสพติดที่เป็นเด็กและเยาวชนได้รับการยอมรับมากกว่าผู้กระทำผิดคดียาเสพติดที่เป็นผู้ใหญ่ ผู้กระทำผิดคดียาเสพติดฐานความผิดเสพได้รับการยอมรับมากกว่าผู้กระทำผิดคดียาเสพติดฐานความผิดอื่น ผู้กระทำผิดคดียาเสพติดครั้งแรกได้รับการยอมรับมากกว่าผู้กระทำผิดซ้ำคดียาเสพติด ผู้กระทำผิดคดียาเสพติดที่ได้รับการแก้ไขฟื้นฟูได้รับการยอมรับมากกว่าผู้กระทำผิดคดียาเสพติดที่ไม่เคยเข้ารับการแก้ไขฟื้นฟู นโยบายของรัฐ/กฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลต่อการยอมรับผู้กระทำผิดคดียาเสพติดของคนในสังคม และคนที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้การยอมรับผู้กระทำผิดคดียาเสพติดมากกว่าคนที่ไม่เคยเกี่ยวข้องกับยาเสพติด พฤติกรรมที่แสดงออก คนในสังคมยังคงให้การยอมรับต่อผู้กระทำผิดคดียาเสพติดไม่ว่าจะเป็นการให้เกียรติ ให้ความช่วยเหลือ พูดคุยได้ ไม่แสดงท่าทีรังเกียจ เป็นต้น และระดับของการยอมรับผู้กระทำผิดคดียาเสพติด สามารถที่จะอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ทุกระดับ เช่น อยู่ร่วมในสังคม ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทำงานเกษตรกรรม เป็นเพื่อนเรียน เป็นเพื่อนบ้าน มีเพียงระดับของการเป็นเพื่อนสนิทและการเป็นคนรัก คนในสังคมยังใช้ความระมัดระวังมากในการให้การยอมรับ เนื่องจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดค่อนข้างมาก |
Other Abstract: | This Research is a field research that used both quantitative and qualitative methods. Questionnaires were used to collect data from sample of 300 people, and used interviewing to collect data from 10 samples in Nakhon Pathom Province. The objectives of research are: to study reintegration of Narcotics Offenders into societies. To study accepting or non-accepting offenders into societies. The results of the research can be summarized as follows: Female narcotics offenders had been more accepted than male. Juveniles narcotics offenders had been more accepted than adults. Users had been more accepted than the other narcotics offends. The first offends had been more accepted than the recivists. The rehabilitated offends had been more accepted tha the one who never been rehabilitated before. Government policy or the changed law had related to reintegration of narcotics offenders into societies. More over, the sample who had their own experiences with narcotics had showed more acceptation than the non-experiences as well. Further more, people tend to show their sinceres accepting the narcotics offenders reintegrated into societies by respecting, giving the helping hands and talking with them. The senario of the accepting level is high level in reintegration into societies, including with working together in the factories and farms, and together with accepting to be friends and neighbors. However, they show their consideration in accepting these narcotics offenders to be their close frieds and their lovers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สังคมวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/675 |
ISBN: | 9741760353 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kittikhun.pdf | 9.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.