Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67641
Title: | การวิเคราะห์ผลการพัฒนากรอบความคิดการวิจัยในวิทยานิพนธ์ทางการศึกษา |
Other Titles: | An analysis of the research framework development results in educational research |
Authors: | ปุญญิศา ภูมิผล |
Advisors: | สุชาดา บวรกิติวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การศึกษา -- วิจัย ความคิดรวบยอด Education -- Research Concepts |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของผลการพัฒนากรอบความคิดการวิจัยในวิทยานิพนธ์ทางการศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของผลการพัฒนากรอบความคิดการวิจัยในวิทยานิพนธ์ทางการศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัย และ 3) เพื่อนำเสนอกรอบการพิจารณาความเหมาะสมของผลการพัฒนากรอบความคิดการวิจัยในวิทยานิพนธ์ทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือวิทยานิพนธ์ของคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยศิลปากรที่ผลิตในปี พ.ศ.2548 ถึง พ.ศ.2552 จำนวนทั้งหมด 400 เล่ม ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกการวิเคราะห์ผลการพัฒนากรอบความคิดการวิจัย และเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญโดยใช้แนวคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์และแบบบันทึกการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สถิติบรรยาย การวิเคราะห์แบบตารางไขว้โดยใช้โปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์เนื้อหา ลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมากที่สุด และเป็นวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากรน้อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยระดับปริญญาโทในสาขาวิชาการสอน มักเป็นใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ผลวิจัยพบว่ามีวิทยานิพนธ์ที่มีการพัฒนากรอบความคิดการวิจัยจำนวน 281 เล่ม และพบว่ามีผลการพัฒนากรอบความคิดการวิจัยเป็นไปตามกรอบความคิดการวิจัยที่ผู้วิจัยกำหนด ซึ่งประกอบด้วย 1) หลักฐานที่มาของกรอบความคิดการวิจัย 2) ลักษณะสาระในกรอบความคิดการวิจัย (การระบุตัวแปร ความสัมพันธ์ และคำอธิบายกรอบความคิดการวิจัย) 3) ประเภทของกรอบความคิดการวิจัย (จำแนกตามวิธีการพัฒนา และจำแนกตามเนื้อหาที่นำเสนอ) 4) รูปแบบการนำเสนอกรอบความคิดการวิจัย (รูปแบบการบรรยาย รูปแบบแผนภาพ รูปแบบตาราง และรูปแบบผสม) ผลการเปรียบทียบลักษณะของผลการพัฒนากรอบความคิดการวิจัยในแต่ละมหาวิทยาลัย พบว่าผลการพัฒนากรอบความคิดการวิจัยทุกเล่มของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยศิลปากรมีการแสดงหลักฐานที่มา ซึ่งส่วนใหญ่มีการระบุตัวแปร ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และคำอธิบายกรอบความคิดการวิจัย โดยส่วนใหญ่พัฒนาจากแนวคิด/ทฤษฎี มักนำเสนอในรูปแบบผสมและเป็นกรอบแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและแสดงคำอธิบายที่เกี่ยวกับตัวแปร ซึ่งตรงตามคำนิยามของการพัฒนากรอบความคิดการวิจัย ส่วนกรอบความคิดการวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีลักษณะแตกต่างในส่วนของรูปแบบการนำเสนอกรอบความคิด พบว่า มักจะนำเสนอด้วยรูปแบบตาราง และกรอบความคิดส่วนเป็นกรอบแสดงขั้นตอนการวิจัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้วิจัยส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการพัฒนากรอบความคิดการวิจัย กรอบการพิจารณาความเหมาะสมของผลการพัฒนากรอบความคิดการวิจัยที่ถูกต้องตามหลักการวิจัย ประกอบด้วย 1) ความเหมาะสมของหลักฐานที่มาของกรอบความคิดการวิจัยพิจารณาจากความตรงกับประเด็นวิจัย ความครอบคลุมประเด็นวิจัย ความทันสมัยของหลักฐานที่มา ความน่าเชื่อถือของหลักฐานที่มา และความชัดเจนในการแสดงหลักฐานที่มา 2) ความเหมาะสมของลักษณะสาระในกรอบความคิดการวิจัยพิจารณาจากการระบุตัวแปรหลักในการวิจัยครบถ้วน การระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และการระบุคำอธิบายหลักฐานที่มาของกรอบความคิดการวิจัย 3) ความเหมาะสมของประเภทของกรอบความคิดการวิจัยพิจารณาจากการแสดงคำอธิบายถึงสาเหตุการเลือกใช้ประเภทของกรอบความคิดการวิจัยและการนำเสนอเนื้อหาในกรอบความคิดการวิจัยโดยแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และ 4) ความเหมาะสมของรูปแบบการนำเสนอกรอบความคิดการวิจัยพิจารณาจากการนำเสนอกรอบความคิดการวิจัยในรูปแบบผสมระหว่างรูปแบบการบรรยายและรูปแบบแผนภาพ |
Other Abstract: | The study aimed to 1) analyze development research framework results in educational research 2) compare the characteristics conceptual framework result in educational theses and 3) provide the evaluation framework of the conceptual framework result in educational research. A samples used in this study was 400 then proportionally calculated from 4,715 theses conducted in the years 2548 to 2552 in the Faculty of Education from 4 universities. Data were collected using recording form and interview; and were analyze using descriptive statistical analysis, cross tabulation in SPSS program and content analysis. The attributes of theses were used in this study the most of sampled them were from Srinakarintarawirot University and the least were from Silpakorn University. The theses were conducted in approximated number of 78-83 volume, mainly postgraduate level and in the academic instruction area, using mostly quantitative research and quasi-experimental research methods. The objectives of most theses were research and development. The result showed that: 1) Developing a research framework results contained four main parts: the evidences of concept study, the contents of the research framework, the characteristics of research framework and the presentation of research framework. 2) A study sample of 400 theses that have 281 theses that developed a conceptual framework. The characteristics of the development of a conceptual framework research in theses each of the universities. The research framework developing of Chulalongkorn University and Silpakorn were similar that showing the concept of research and identifying the relationship between variables used in research. On the other hand, the research framework of Srinakharinwirot University and Kasetsart University were presented by using table and showing step in research. 3) The framework for evaluation of the conceptual framework development results were consist of: a) the appropriateness of the evidence that determining from the validity between evidences and research issue, coverage of research issues, modernization of the evidence, creditability of the evidence and clearification of the evidence presentation b) the appropriateness of the contents in the conceptual framework results determining from identification of the key variables in the study, the relationship between variables, and identification of an explanation of the resource of the concept of the study c) the appropriateness of the conceptual framework type based on showing that the clarification of explanation of conceptual framework sources and relationships between variables, and 4) the appropriateness of the presentation of conceptual framework results determined from showing the combination of narrative and relationship between variables diagrams. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67641 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Punyisa_ph_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 900.21 kB | Adobe PDF | View/Open |
Punyisa_ph_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 915.03 kB | Adobe PDF | View/Open |
Punyisa_ph_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Punyisa_ph_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Punyisa_ph_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Punyisa_ph_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Punyisa_ph_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.